For mom baby child new mom pregnancy แม่และเด็ก แม่ลูก คุณแม่มือใหม่ พัฒนาการลูกรัก ดูแลลูก ดูแลเด็ก คุณแม่ตั้งครรภ์ เมนูน่าหม่ำ
Saturday, May 16, 2009
Wednesday, May 6, 2009
เตรียมตัวให้ พร้อม ก่อนคลอด
เมื่อไหร่ถึงจะคลอด
การคลอดจะเริ่มต้นเมื่อเชิงกรานเปิดหรือขยายออก มดลูกจะหดตัวเป็นช่วงๆ ช่องท้องจะแข็ง
แต่ยากที่จะกำหนดเวลาคลอดที่แน่นอนหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ช่วงเวลาที่เริ่มจะคลอดอาจ เรียกว่า ช่วงเจ็บเตือน ช่วงนี้เด็กทารกจะเคลื่อนตัวลงมาที่ช่องเชิงกราน ซึ่งจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย
การหดตัวของมดลูกนี้ อาจทำให้คุณคิดว่าคุณกำลังจะคลอดแล้ว ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นมีอาการปวดครั้งแรกจนถึงมีอาการปวดอีกครั้ง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความถี่ เรียกช่วงนี้ว่า “ ปวดท้องคลอดหลอก ”
ถ้าการหดตัวของมดลูกเริ่มถี่มากขึ้นและต่อเนื่องมากกว่า 1 ชั่วโมง เรียกช่วงนี้ว่า “ ปวดท้องคลอดจริง ” ปกติระยะเวลาปวดท้องคลอดจริงจะใช้เวลาประมาณ 30 – 60 นาที
ถ้าคุณอยู่ในขั้นตอนของการพร้อมคลอด จะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณ ดังนี้
มีการเปิดขยายของอุ้งเชิงกราน เพื่อให้ตัวเด็กผ่านเข้าสู่ช่องเชิงกราน ขณะที่อุ้งเชิงกรานมีการขยายตัวอาจทำให้มีมูกเลือดปนออกมาด้วย
มีการแตกของถุงน้ำคร่ำ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากมดลูกหดตัว การแตกของถุงน้ำคร่ำอาจจะมากจนเกิดอาการทะลักออกมาแต่ก็ไม่ได้มีอาการเจ็บปวด บางกรณีเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำอาจไม่แตกจนกระทั่งถึงโรงพยาบาล
การตรวจครรภ์ก่อนคลอด
ถ้าคุณอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน แพทย์อาจถามเกี่ยวกับวันกำหนดคลอด ถามเกี่ยวกับการบีบรัดตัวของมดลูก แม้กระทั่งอาการแตกของถุงน้ำคร่ำ การเคลื่อนไหวของลำไส้ ถ้าคุณไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้น คุณอาจจะถูกให้ยาเหน็บช่องคลอด และให้นำตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจหาโปรตีนและน้ำตาลที่ห้องปฎิบัติการ
คุณอาจถูกตรวจหาตำแหน่งของทารก ตรวจการเต้นของหัวใจ ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิ และการเปิดของช่องเชิงกราน รวมถึงการตรวจช่องคลอดและอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ตลอดเวลาด้วยก่อนคลอด
ขั้นตอนแรกของการคลอด แพทย์อาจจะไม่ได้อยู่ด้วย แพทย์จะเก็บข้อมูลและสังเกตปัญหาต่างๆ ซึ่งในขั้นตอนต่อมาแพทย์จึงจะเข้ามาอยู่ด้วยกับคุณ
สำหรับขั้นตอนการคลอด ขั้นแรกทารกจะเริ่มเคลื่อนตัวลงมา โดยทั่วไปแล้วทารกจะเอาหัวลง แล้วมดลูกจะหดตัว ถ้าถุงน้ำคร่ำยังไม่แตกตอนที่เริ่มจะคลอด ถุงน้ำคร่ำก็ควรจะแตกในช่วงนี้ การขยายตัวของมดลูกจะเป็นสาเหตุให้เกิดการหดตัวของมดลูกเพื่อดันให้ทารกเลื่อนตัวต่ำลงมาและจะเกิดการขยายของปากมดลูก ซึ่งถือเป็นวงจรการเริ่มต้นสู่การคลอดโดยมดลูกจะบีบรัดถี่ขึ้นทุกๆ 30 นาที
ระหว่างช่วงพร้อมคลอดนี้ คุณควรจะผ่อนคลายเพื่อเตรียมพร้อมในช่วงที่มดลูกบีบรัดมากกว่าที่จะฝืนหรือกลั้นไว้ ระยะเวลาของการคลอดอาจจะใช้เวลาประมาณ 12 – 14 ชั่วโมง
คำแนะนำก่อนการคลอด
ถ้าสุขภาพของคุณและลูกน้อยคุณมีความเสี่ยง คุณจะได้รับคำแนะนำพิเศษจากแพทย์ และถ้าคุณมีอาการดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้คุณควรโทรปรึกษาแพทย์ของคุณทันที
-ถุงน้ำคร่ำแตก
-รกในครรภ์คลอดออกมาก่อนตัวทารก
-ถูกกระตุ้นให้คลอดก่อนกำหนด
-เลยช่วงกำหนดคลอดมานานกว่า 2 สัปดาห์
การหดตัวของมดลูกขณะคลอดจะมีความเจ็บปวดมากและจะเกิดขึ้นทันที แพทย์อาจจะใช้ยาระงับปวด สำหรับคำแนะนำเพิ่มเติมนั้นแพทย์จะบอกให้คุณทราบเมื่อคุณไปถึงโรงพยาบาลที่คุณฝากครรภ์
การคลอดจะเริ่มต้นเมื่อเชิงกรานเปิดหรือขยายออก มดลูกจะหดตัวเป็นช่วงๆ ช่องท้องจะแข็ง
แต่ยากที่จะกำหนดเวลาคลอดที่แน่นอนหรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ช่วงเวลาที่เริ่มจะคลอดอาจ เรียกว่า ช่วงเจ็บเตือน ช่วงนี้เด็กทารกจะเคลื่อนตัวลงมาที่ช่องเชิงกราน ซึ่งจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย
การหดตัวของมดลูกนี้ อาจทำให้คุณคิดว่าคุณกำลังจะคลอดแล้ว ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นมีอาการปวดครั้งแรกจนถึงมีอาการปวดอีกครั้ง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความถี่ เรียกช่วงนี้ว่า “ ปวดท้องคลอดหลอก ”
ถ้าการหดตัวของมดลูกเริ่มถี่มากขึ้นและต่อเนื่องมากกว่า 1 ชั่วโมง เรียกช่วงนี้ว่า “ ปวดท้องคลอดจริง ” ปกติระยะเวลาปวดท้องคลอดจริงจะใช้เวลาประมาณ 30 – 60 นาที
ถ้าคุณอยู่ในขั้นตอนของการพร้อมคลอด จะมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณ ดังนี้
มีการเปิดขยายของอุ้งเชิงกราน เพื่อให้ตัวเด็กผ่านเข้าสู่ช่องเชิงกราน ขณะที่อุ้งเชิงกรานมีการขยายตัวอาจทำให้มีมูกเลือดปนออกมาด้วย
มีการแตกของถุงน้ำคร่ำ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากมดลูกหดตัว การแตกของถุงน้ำคร่ำอาจจะมากจนเกิดอาการทะลักออกมาแต่ก็ไม่ได้มีอาการเจ็บปวด บางกรณีเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำอาจไม่แตกจนกระทั่งถึงโรงพยาบาล
การตรวจครรภ์ก่อนคลอด
ถ้าคุณอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน แพทย์อาจถามเกี่ยวกับวันกำหนดคลอด ถามเกี่ยวกับการบีบรัดตัวของมดลูก แม้กระทั่งอาการแตกของถุงน้ำคร่ำ การเคลื่อนไหวของลำไส้ ถ้าคุณไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้น คุณอาจจะถูกให้ยาเหน็บช่องคลอด และให้นำตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจหาโปรตีนและน้ำตาลที่ห้องปฎิบัติการ
คุณอาจถูกตรวจหาตำแหน่งของทารก ตรวจการเต้นของหัวใจ ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร อุณหภูมิ และการเปิดของช่องเชิงกราน รวมถึงการตรวจช่องคลอดและอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ตลอดเวลาด้วยก่อนคลอด
ขั้นตอนแรกของการคลอด แพทย์อาจจะไม่ได้อยู่ด้วย แพทย์จะเก็บข้อมูลและสังเกตปัญหาต่างๆ ซึ่งในขั้นตอนต่อมาแพทย์จึงจะเข้ามาอยู่ด้วยกับคุณ
สำหรับขั้นตอนการคลอด ขั้นแรกทารกจะเริ่มเคลื่อนตัวลงมา โดยทั่วไปแล้วทารกจะเอาหัวลง แล้วมดลูกจะหดตัว ถ้าถุงน้ำคร่ำยังไม่แตกตอนที่เริ่มจะคลอด ถุงน้ำคร่ำก็ควรจะแตกในช่วงนี้ การขยายตัวของมดลูกจะเป็นสาเหตุให้เกิดการหดตัวของมดลูกเพื่อดันให้ทารกเลื่อนตัวต่ำลงมาและจะเกิดการขยายของปากมดลูก ซึ่งถือเป็นวงจรการเริ่มต้นสู่การคลอดโดยมดลูกจะบีบรัดถี่ขึ้นทุกๆ 30 นาที
ระหว่างช่วงพร้อมคลอดนี้ คุณควรจะผ่อนคลายเพื่อเตรียมพร้อมในช่วงที่มดลูกบีบรัดมากกว่าที่จะฝืนหรือกลั้นไว้ ระยะเวลาของการคลอดอาจจะใช้เวลาประมาณ 12 – 14 ชั่วโมง
คำแนะนำก่อนการคลอด
ถ้าสุขภาพของคุณและลูกน้อยคุณมีความเสี่ยง คุณจะได้รับคำแนะนำพิเศษจากแพทย์ และถ้าคุณมีอาการดังที่จะกล่าวข้างล่างนี้คุณควรโทรปรึกษาแพทย์ของคุณทันที
-ถุงน้ำคร่ำแตก
-รกในครรภ์คลอดออกมาก่อนตัวทารก
-ถูกกระตุ้นให้คลอดก่อนกำหนด
-เลยช่วงกำหนดคลอดมานานกว่า 2 สัปดาห์
การหดตัวของมดลูกขณะคลอดจะมีความเจ็บปวดมากและจะเกิดขึ้นทันที แพทย์อาจจะใช้ยาระงับปวด สำหรับคำแนะนำเพิ่มเติมนั้นแพทย์จะบอกให้คุณทราบเมื่อคุณไปถึงโรงพยาบาลที่คุณฝากครรภ์
Subscribe to:
Posts (Atom)