Monday, September 27, 2010

รู้ทันการเปลี่ยนแปลง ขณะตั้งครรภ์



การแพ้ท้อง

มักเกิดขึ้นภายใน 5-10 สัปดาห์ หลังการตั้งครรภ์และจะหายไปเมื่อเข้าสู่ช่วง
สัปดาห์ที่ 16 คุณแม่จะมีอาการคลื่อไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และมีน้ำลายมากกว่าปกติ
ซึ่งมักเป็นตอนเช้าหรือหลังตื่นนอนใหม่ๆ คุณแม่ควรจิบเครื่องดื่มอุ่นๆ เช่น น้ำผลไม้
น้ำขิง และนอนสักพักแล้วค่อยลุกขึ้น ควรรับประทานอาหารย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหาร
ที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด หรืออาหารที่มีกลิ่นและพักผ่อนให้เพียงพอ

ตกขาวมากกว่าปกติ

ช่วงนี้มีเลือดหล่อเลี้ยงบริเวณช่องคลอดและมดลูกมากกว่าเดิม ประกอบกับ
ฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่เพิ่มขึ้นทำให้มีตกขาวมากกว่าระยะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ซึงเป็น
เรื่องปกติ คุณแม่เพียงแต่ระวังไม่ให้เกิดการอักเสบเท่านั้น โดยมั่นอาบน้ำทำความ
สะอาด ไม่ล้างเข้าไปในช่องคลอด เพราะจะยิ่งทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ถ้า
รู้สึกคัน ตกขาวมีกลิ่นผิดปกติหรือรู้สึกแสบ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรมาพบแพทย์ทันที

ท้องผูก

เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้การหดตัวของลำไส้
ลดลง หรือการที่มดลูกไปกดลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทวารหนักและการขาดการออก
กำลังกายรวมทั้งการรับประทานผลไม้ที่มีกากน้อย ดื่มน้ำน้อยจึงเป็นสาเหตุของการ
เกิดโรคท้องผูก ดังนั้นจึงควรออกกำลังกายแต่เพียงพอ รับประทานผัก ผลไม้
ดื่มน้ำมากๆ และถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา

ตะคริว

เกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ มักเป็นตอนกลางคืนหลังจาก
ที่คุณแม่เดินมาก ยืนนานๆ นั่งห้อยเท้าท่าเดียวตลอดวัน ทำให้เลือดมาคั่งบริเวณน่อง
ทำให้เกิดอาการปวด คุณแม่สามารถบรรเทาอาการได้โดยการดัดปลายเท้าให้งอขึ้น
เพื่อให้กล้ามเนื้อน่องยืดตัว ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เวลานอนให้หาหมอนรองเท้า
และให้น่องสูงกว่าระดับตัวเล็กน้อย รวมทั้งดื่มนมให้มากเพื่อเพิ่มแคลเซียม

แสบร้อนบริเวณเหนือลิ้นปี่

อาการนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนที่ 6 ขึ้นไป เนื่องจากการเคลื่อนไหวของกระเพาะ
อาหารและลำไส้ลดลง มีน้ำย่อยซึ่งเป็นกรดคั่งค้างในกระเพาะอาหารมากขึ้น มดลูก
ขยายตัวมาดันกระเพาะอาหาร ทำให้น้ำย่อยเข้ามาท่วมท้นในหลอดอาหารจึงเกิด
อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ เมื่อเกิดอาการดังกล่าวคุณแม่ไม่ควรนอนราบ เพราะจะ
ทำให้ กรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น แต่ควรใช้หมอนหนุนศีรษะและลำตัวให้สูง