1st Month
The fertilized egg multiplies into many cells. Some cells develop into the embryo and some cells develop into the placenta. About 8 days after fertilization the embryo will attach to the uterine lining.
The embryo is only 1/8 inch long by the end of this first month, but has already begun to develop the early stages of a heart, liver and digestive system. Tiny buds form which will later develop into arms and legs.
2nd Month
All of the major organs are forming. The embryo's heart is pumping blood. The head is relatively large compared to the rest of the body and brain development is well underway. The eyes are distinctly visible. The hands and feet look like little scalloped paddles at this early stage.
By the end of the second month the embryo is a little over an inch long.
3rd Month
The embryo is now called a fetus. Kidneys are producing urine which the fetus excretes into the amniotic fluid. The amniotic fluid is cleansed via the umbilical cord then out through the mother.
Bone is replacing cartilage, and muscles are developing. Fingers, toes and eyelids have formed. Testicles have formed in boys and ovaries in girls.
By the end of the third month the fetus is about 2 1/2 - 3 inches long and weighs about 1/2 ounce.
4th Month
All organs have developed. The fetus just needs time to grow and mature. Beneath the gums, teeth are forming. Fine hair begins to grow all over the body. Fingernails form. The baby sucks and swallows.
The baby actively kicks its legs and moves its arms, but not with enough strength for the mother to be able to feel the movement.
By the end of the fourth month the baby is 5-6 inches long and weighs 3-4 ounces. The uterus is now about four inches in diameter and the mothers tummy may show a slight bulge.
5th Month
The baby has been busy growing and is now big enough for the mother to feel her fetus moving about inside of her. A thumb may find its way to the baby's mouth for sucking. Hair is growing on the head.
The baby can hear muffled sounds. A protective fatty substance called vernix covers the baby's skin.
By the end of the fifth month the baby is 8-10 inches long and weighs 8-12 ounces. Still under one pound!
6th Month
Finger prints are visible. The eyelids will part for the first time this month and the eyes will open. The lungs begin to mature, getting ready for a healthy first breath.
Bones are hardening as calcium deposits. The baby's movements become more vigorous. Until now, no body fat has accumulated, that occurs mostly in the third trimester.
The baby has reached a length of nearly 11-12 inches and weighs about 1 1/2 pounds.
7th Month
The brain is enlarging. Body fat is accumulating. There is less room for the baby to move around now. Taste buds are forming and the baby's senses are becoming more acute. The baby hears the voices of those nearby.
By the end of the seventh month the baby could have a good chance of survival if born prematurely, but would require intensive medical care.
The length has reached about 13-15 inches, and the baby now weighs close to 2 1/2 to 3 pounds.
8th Month
The lungs are maturing further. Continued rapid growth is occurring. Kicks may be visible by watching the mothers abdomen move. The baby occasionally gets the hiccups.
If delivered prematurely, the baby has an excellent chance of survival.
The baby is about 16-18 inches long now and weighs 4-5 pounds.
9th Month
The baby deposits body fat at a rate of nearly 1/2 ounce per day. The lungs are mature. In these tight quarters the baby may seem a little less active.
The normal position for the baby to be in as it prepares for birth is head down and facing the mothers back. The head engages in mother's pelvis. Mother carries the baby lower, making it easier for the mother to breath.
At birth the average baby weighs 7-1/2 pounds, but weight can vary between 6 to 9 pounds. Average length is 17 to 22 inches.
บทความนี้ได้สรุปพัฒนาการต่างๆของลูกน้อยในครรภ์เป็นรายเดือน แต่ละเดือนของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยมีพัฒนาการที่รวดเร็วและมีความต้องการในแต่ละช่วงไม่เหมือนกัน มาอ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจกันนะคะ
- ตั้งครรภ์ 1 เดือน ในเดือนแรกของการตั้งครรภ์ บางครั้งหรือส่วนมาก ไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ประจำเดือนที่ขาดหายไป อาจจะ............... ถ้าเป็นผู้ที่สนใจตัวเองจะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ เต้านมจะใหญ่แข็งมากขึ้น คัดและเจ็บ อารมณ์จะเปลี่ยนไป หงุดหงิด ความไร้เหตุผลมีมากขึ้น ใน 1เดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ ทารกในครรภ์จะมีขนาดเล็กมาก เพียงเท่าเมล็ดข้าว อยู่ในถึงน้ำคร่ำเล็กๆ ที่มีรกเกาะอยู่ผนังมดลูก ขณะนี้ตัวทารกน้อย ที่มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าวจะมีตุ่มยื่นออกมาที่กำลังพัฒนา เป็นแขนขา ระบบประสาทเริ่มเกิด และใกล้เคียงกับระบบไหลเวียนโลหิต ก็กำลังเริ่มสร้างเครือข่ายไปทั่วร่างกายของทารก เมื่อมีความผิดปกติของระดู ควรจะตรวจสอบการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทราบผลที่แน่นอน และถ้าท่านตั้งครรภ์ก็ควรละเลิกพฤติกรรมที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของทารก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟ และสุรา เป็นต้น ดังนั้น ท่านควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ
- ตั้งครรภ์ 2 เดือน ในเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์นั้น เป็นเดือนที่สำคัญ เพราะเป็นเวลาที่ตัวอ่อนหรือทารกน้อยๆ จะมีการพัฒนา เจริญเติบโตของระบบประสาทและหลอดเลือด ขณะเดียวกันอวัยวะที่สำคัญก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ทำให้ระยะเวลาดังกล่าวนี้ ทารกจะเสี่ยงต่อการเกิดความพิการ ถ้าได้รับสารพิษเข้าไป ในเดือนที่ 2 นี้ตัวทารกจะมีความยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ทารกก็จะมี แขน ขา หน้า รูปร่างเหมือนมนุษย์ขนาดจิ๋ว ขณะเดียวกันก็จะมีหัวใจที่เต้นทำงานบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ผู้ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 นี้ ก็จะมีอาการแพ้ท้อง เช่นเดียวกับเดือนแรก คือจะมีอาการแสบท้องอ่อนเพลีย หน้าอกโตขยายใหญ่ขึ้น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงจะทำให้การย่อยอาหารช้าลง จะทำให้ผู้ตั้งครรภ์มักจะมีอาการท้องอืดเฟ้อ ท้องผูก และผู้ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกหน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
- ตั้งครรภ์ 3 เดือน ในเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้องอาจจะยังมีอยู่หรือเริ่มจะดีขึ้น อารมณ์ของผู้เป็นแม่จะเริ่มคงเส้นคงวา ในช่วงเดือนที่ 3 นี้ ด้วยเครื่องมือตรวจการทำงานของหัวใจ อาจจะได้ยินเสียงเต้นของหัวใจ ซึ่งถ้าผู้เป็นแม่ได้ยินแล้วจะรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น และน่าประทับใจ ในวัยนี้ทารกจะมีขนาดโดยประมาณ 3 นิ้วฟุต อวัยวะต่างๆ จะเกิดจนครบและกำลังพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ อวัยวะต่างๆ ก็เริ่มทำงานได้แล้ว สำหรับวัยขนาดครรภ์ 3 เดือนนี้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ยังไม่สามารถบอกเพศได้ว่าเป็นหญิงหรือชาย สำหรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนั้น จะเริ่มพบว่ามีอาการบวมของฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมทั้งเส้นเลือดก็จะเริ่มโป่งให้เห็นเป็นลักษณะเส้นเลือดขอดได้ง่ายขึ้น
- ตั้งครรภ์ 4 เดือน การตั้งครรภ์ในระยะนี้ นับเป็นเดือนแรกของไตรมาสที่สอง อาการแพ้ท้องในเดือนนี้มักจะหายไป เริ่มทานอาหารได้มาก ทำให้น้ำหนักเริ่มมากขึ้น อารมณ์เข้าสู่สภาพปกติ แต่ยังอาจจะมีสภาพใจลอย อาการตกขาวอาจจะมีมากขึ้น เส้นเลือดขอดและ ริดสีดวงทวารจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนทั่วไป จากการขยายตัวของมดลูกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อระบบไหลเวียนของโลหิตในปลายเดือนที่ 4 นี้ ผู้เป็นแม่อาจจะรู้สึกได้ถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ ถ้าเคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อน จะมีความรู้สึกว่าลูกดิ้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งตรงข้ามกับหญิงตั้งครรภ์แรกทารกในครรภ์ขณะนี้จะยาวประมาณ 4 นิ้วฟุต ทารกสามารถจะดูด กลืน เคลื่อนไหวได้คล้ายกับมนุษย์ทั่วไปที่ตัวเล็กๆ นั่นเอง แต่ก็ยังอ่อนแอไม่สามารถมีชีวิตอยู่นอกโพรงมดลูกได้
- ตั้งครรภ์ 5 เดือน ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะการตั้งครรภ์ได้ผ่านมาครึ่งทางแล้ว ขณะนี้ผู้เป็นแม่มักจะมีความรู้สึกถึงการดิ้นของทารกได้ การดิ้นครั้งแรกๆ จะรู้สึกเบาและห่าง ซึ่งจะค่อยๆ ดิ้นแรงขึ้นๆ และถี่ขึ้นๆ ขณะนี้ผู้เป็นแม่มักจะมีอารมณ์ดี ไม่ซึมเศร้า ทารกในขณะเดือนที่ 5 จะมีขนาดประมาณ 10 นิ้วฟุต ศรีษะทารกยังค่อนข้างโต มีการเคลื่อนไหวของแขนขาและคอได้ดี นิ้วมือและนิ้วเท้าแยกกันชัดเจน อวัยวะเพศสามารถแยกได้ชัดเจนว่าเพศหญิงหรือเพศชาย ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้เป็นแม่ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะสร้างความวิตกกังวลให้แก่ตนเองได้ คือ การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง จะมีผิวสีเกิดขึ้น ทั้งที่ใบหน้าหรือหน้าท้อง ที่หน้าจะทำให้เกิดสิว ฝ้า ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไปหลังคลอดขอให้คุณแม่ทั้งหลายที่ตั้งครรภ์มาถึงขณะนี้ ได้มีความอดทนต่อภาวะการตั้งครรภ์ต่อไป อีกไม่นานนักท่านจะได้เห็นลูกน้อยที่น่ารักออกมาจากครรภ์
- ตั้งครรภ์ 6 เดือน เดือนที่ 6 เป็นเดือนที่ทารากจะดิ้นได้ดี บางครั้งก็จะเกิดความเจ็บปวดจากการดิ้นได้ ถ้าทารกดิ้นเข้าไปกระแทกกระเพาะปัสสาวะ หรือ ชายโครง สำหรับในเดือนที่ 6 นี้ มดลูกจะขยายใหญ่มากขึ้น จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังหน้าท้อง คือจะเกิดผิวหนังแตกเป็นลาย ที่เรียกว่าหน้าท้องลาย จะมีอาการคันตามมา ในช่วงเดือนนี้ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ เช่น การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการพิษแห่งครรภ์ การอักเสบติดเชื้อราจะพบได้ง่ายมาก และการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยขึ้น ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในส่วนของทารก ขณะนี้มีขนาดยาวประมาณ 13 นิ้วฟุต น้ำหนักประมาณ 700-800 กรัม ตาทารกเริ่มลืมและนิ้วมือเริ่มมีลายนิ้วมือ แต่ผิวหนังยังไร้ไขมัน ถ้าทารกคลอดก่อนกำหนดในเดือนดังกล่าวนี้ โอกาสจะเลี้ยงรอดยากมาก
- ตั้งครรภ์ 7 เดือน เป็นการเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ท้องโตมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ท้องที่โตมากขึ้นทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น เพราะมดลูกที่โตจะมาดันกระบังลมทำให้หายใจได้สั้น ๆ คุณแม่จะรู้สึกถึงความอุ้ยอ้าย เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว นอนหลับไม่ได้เต็มที่จากการที่ทารกในครรภ์จะตื่น และตัวมดลูกเองก็จะบีบตัวเป็นระยะห่าง ๆ กัน เป็นการเริ่มต้นการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นแต่ก็ไม่ถึงกับมีการเจ็บปวดเกิดขึ้น และจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที ในระยะนี้คุณแม่ควรจะได้เข้าอบรมเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมคลอด เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อเจ็บครรภ์คลอดและเข้าสู่กระบวนการคลอด ในช่วงระยะนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม ทารกในครรภ์ขณะนี้จะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมโดยประมาณ ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจาม ดูดมือ ดูดนิ้วเท้า
- ตั้งครรภ์ 8 เดือน ขณะนี้ท้องจะใหญ่มากขึ้นจนคุณแม่จะรู้สึกถึงความอึดอัด ท้องที่โตขึ้นทำให้พื้นที่ปอดขยายลดลง คุณแม่จะเหนื่อยง่าย หายใจเร็วสั้น กระเพาะปัสสาวะจะถูกกด ทำให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย ๆ โดยเฉพาะเวลานอนก็จะถูกรบกวนได้จากการที่ต้องลุกไปปัสสาวะ และจากการดิ้นที่รุนแรงของเด็กทารกในครรภ์ ซึ่งขณะนี้การเจริญเติบโตของระบบกล้ามเนื้อมากขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย ๆ จะพบได้ เพราะการย่อยอาหารถูกกระทบกระเทือนไป จะมีอาการของหลอดอาหารอักเสบตามมา มือเท้า จะบวม เริ่มเป็นตะคริวบ่อยขึ้น ท้องผูกจะเป็นสิ่งปกติของคุณแม่ระยะนี้ ตกขาวจะมีมากขึ้น ในบางคนจะมีน้ำนมไหลออกมา ซึ่งเป็นหัวน้ำนมก็ว่าได้ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง ทารกขณะนี้จะมีน้ำหนักโดยประมาณ 2 กิโลกรัม คุณแม่ควรจะต้องเรียนรู้กระบวนการคลอด และสังเกตถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น น้ำเดิน เป็นต้น ควรจะได้เตรียมเครื่องใช้สำหรับการเข้าอยู่ในโรงพยาบาลไว้ให้พร้อม
- ตั้งครรภ์ 9 เดือน สำหรับท่านที่ตั้งครรภ์มาจนถึงเดือนที่ 9 พอเข้าเดือนที่ 9 คุณก็เริ่มนับถอยหลังได้แล้ว วันเวลาแห่งการรอคอยจะมาถึงในไม่ช้าไม่นาน ท้องที่โตขึ้นจะลดลงจนคุณแม่รู้สึกได้ เพราะตัวเด็กทารกในครรภ์เริ่มลงสู่เชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกโล่งขึ้นและหายใจได้ดีขึ้น คล่องแคล่วขึ้น แต่จะหน่วงในช่วงเชิงกรานมากขึ้น เพราะส่วนนำของทารกจะลงไปกดอวัยวะในช่องเชิงกราน อาจจะปวดที่หัวเหน่า ปวดที่โคนขาจากการกดทับเส้นประสาทขา ปัสสาวะจะบ่อยขึ้นมาก ทารกในครรภ์จะดิ้นน้อยลงบ้างแต่ไม่มากนัก การสังเกตการดิ้นของทารก ถือเป็นการเฝ้าระวังต่อสุขภาพเด็กทารกที่ดีที่ผู้เป็นแม่ควรปฏิบัติ โดยสังเกตดูใน 1 ชั่วโมงหลังอาหาร เด็กทารกในครรภ์ต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ถ้าน้อยกว่าให้สังวรว่า อาจจะมีความผิดปกติเกิดแก่ทารก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็ว ทารกในครรภ์ขณะนี้จะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 2.5 กิโลกรัม ในอีกไม่ช้าไม่นาน ไม่แน่ว่ากลางวันหรือกลางคืน คุณจะมีสมาชิกใหม่ของครอบครัวเพิ่มขึ้น
แหล่งข้อมูล : เวบสุดรัก
No comments:
Post a Comment