Saturday, September 13, 2008

How to pregnancy process

Normal Course Of Pregnancy
Pregnancy is exciting, but it is also a time of waiting. The events of pregnancy progress at their own pace and in their own time. No one can rush the process. In the beginning, cells simply divide. By the end of 3 months, organs have developed. During the last 6 months of pregnancy organ systems continue to refine themselves, but specialization of cells and growth in size become the main thrust of the process underway. At the end of nine months the incredible events are complete. A child is born.
1st Month
The fertilized egg multiplies into many cells. Some cells develop into the embryo and some cells develop into the placenta. About 8 days after fertilization the embryo will attach to the uterine lining.
The embryo is only 1/8 inch long by the end of this first month, but has already begun to develop the early stages of a heart, liver and digestive system. Tiny buds form which will later develop into arms and legs.
2nd Month
All of the major organs are forming. The embryo's heart is pumping blood. The head is relatively large compared to the rest of the body and brain development is well underway. The eyes are distinctly visible. The hands and feet look like little scalloped paddles at this early stage.
By the end of the second month the embryo is a little over an inch long.
3rd Month
The embryo is now called a fetus. Kidneys are producing urine which the fetus excretes into the amniotic fluid. The amniotic fluid is cleansed via the umbilical cord then out through the mother.
Bone is replacing cartilage, and muscles are developing. Fingers, toes and eyelids have formed. Testicles have formed in boys and ovaries in girls.
By the end of the third month the fetus is about 2 1/2 - 3 inches long and weighs about 1/2 ounce.
4th Month
All organs have developed. The fetus just needs time to grow and mature. Beneath the gums, teeth are forming. Fine hair begins to grow all over the body. Fingernails form. The baby sucks and swallows.
The baby actively kicks its legs and moves its arms, but not with enough strength for the mother to be able to feel the movement.
By the end of the fourth month the baby is 5-6 inches long and weighs 3-4 ounces. The uterus is now about four inches in diameter and the mothers tummy may show a slight bulge.
5th Month
The baby has been busy growing and is now big enough for the mother to feel her fetus moving about inside of her. A thumb may find its way to the baby's mouth for sucking. Hair is growing on the head.
The baby can hear muffled sounds. A protective fatty substance called vernix covers the baby's skin.
By the end of the fifth month the baby is 8-10 inches long and weighs 8-12 ounces. Still under one pound!
6th Month
Finger prints are visible. The eyelids will part for the first time this month and the eyes will open. The lungs begin to mature, getting ready for a healthy first breath.
Bones are hardening as calcium deposits. The baby's movements become more vigorous. Until now, no body fat has accumulated, that occurs mostly in the third trimester.
The baby has reached a length of nearly 11-12 inches and weighs about 1 1/2 pounds.
7th Month
The brain is enlarging. Body fat is accumulating. There is less room for the baby to move around now. Taste buds are forming and the baby's senses are becoming more acute. The baby hears the voices of those nearby.
By the end of the seventh month the baby could have a good chance of survival if born prematurely, but would require intensive medical care.
The length has reached about 13-15 inches, and the baby now weighs close to 2 1/2 to 3 pounds.
8th Month
The lungs are maturing further. Continued rapid growth is occurring. Kicks may be visible by watching the mothers abdomen move. The baby occasionally gets the hiccups.
If delivered prematurely, the baby has an excellent chance of survival.
The baby is about 16-18 inches long now and weighs 4-5 pounds.
9th Month


The baby deposits body fat at a rate of nearly 1/2 ounce per day. The lungs are mature. In these tight quarters the baby may seem a little less active.
The normal position for the baby to be in as it prepares for birth is head down and facing the mothers back. The head engages in mother's pelvis. Mother carries the baby lower, making it easier for the mother to breath.
At birth the average baby weighs 7-1/2 pounds, but weight can vary between 6 to 9 pounds. Average length is 17 to 22 inches.

Tuesday, August 19, 2008

สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์





คุณแม่ทุกคนย่อมคาดหวังให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปโดยด้วยดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ จนคลอด แต่หลายคนไม่ได้โชคดีเช่นนั้น การเตรียมความรู้เพื่อสังเกตสัญญาณต่างๆ ที่จะบ่งชี้ถึงอันตรายของการตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ และแม่จะมีคุณหมอคอยช่วยดูแลอย่างดีเพียงไร การสังเกตด้วยตนเองก็ไม่ควรละเลย สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์




  • อาการ : 1. มีเลือดออกบริเวณช่องคลอดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : แท้ง,รกลอกตัวก่อนกำหนด,เกิดภาวะรกเกาะตัวต่ำกรณีอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ : เลือดออกจากในช่องคลอด (คล้ายประจำเดือน)


  • อาการ : 2. ปวดท้องหรือกระดูกเชิงกราน ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ :แท้ง, ตั้งครรภ์นอกมดลูก,รกลอกตัวก่อนกำหนดกรณีอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ : ซีสต์, กระเพาะปัสสาวะโต, เอ็นอักเสบ


  • อาการ : 3. ปวดหลังเรื้อรังปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : แท้ง, การคลอดก่อนกำหนดกรณีอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ : ไต,กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ,ซีสต์ อาการปวดทั่ว ๆ ไปของการตั้งครรภ์


  • อาการ : 4. มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : คลอดก่อนกำหนด,ถุงน้ำคร่ำแตก, แท้งกรณีอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ : น้ำเมือก, กระเพาะปัสสาวะรั่ว


  • อาการ : 5. มือบวม หน้าบวมปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์กรณีอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ : การบวมธรรมดา


  • อาการ : 6. ปวดหัวรุนแรง ตาพร่าปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์, โลหิตเป็นพิษ


  • อาการ : 7. มดลูกหดตัว ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : คลอดก่อนกำหนดกรณีอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ : การบีบตัวของกระเพาะอาหารผิดปกติ


  • อาการ : 8. ทารกไม่เคลื่อนไหวปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ : ทารกขาดอ๊อกซิเจน, ทารกเสียชีวิตกรณีอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ : ทารกเคลื่อนไหวช้า,รกบังทารกอย่างไรก็ดี หากคุณแม่ได้ฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ คุณหมอก็จะคอยช่วยดูแลและตรวจสอบปัญหาต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์ให้คุณแม่อยู่แล้ว โดยคุณแม่จะได้รับการตรวจวัดความดัน ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และอื่นๆ จึงวางใจได้ค่ะเมื่อการตั้งครรภ์เดินทางเข้าสู่ในไตรมาสสุดท้าย การพัฒนาของทารกในครรภ์ มันจะทำให้คุณแม่รู้สึกตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา ทั้งการดิ้น และการตอบสนองด้านต่างๆ เพราะทารกมีขนาดใหญ่ขึ้น คือตั้งแต่ 25 เซนติเมตร ถึง 30 เซนติเมตรเลยทีเดียว

ที่มา : Women Snook .com

โภชนาการ รายสัปดาห์ ของคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วง 40 สัปดาห์







แล้วคุณจะรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง และคุณแม่ควรรัปประทานอาหารอย่างไรเพื่อตอบสนองกับความต้องการของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง
  • Week 1 วางแผนตั้งครรภ์ ถ้าไม่เคยใส่ใจกับโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะมาเลย เห็นทีคราวนี้ต้องปฏิวัติตัวเองเพื่อลูกซะแล้ว คุณควรเริ่มกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เริ่มกินยาบำรุงประเภทวิตามินรวมวันละ 1 เม็ด (ไม่ควรเกินจากนี้) โดยคุณจะต้องปรึกษากับแพทย์ก่อน เพราะบางทีคุณอาจไม่ถึงกับต้องพึ่งยาบำรุงก็ได้แตงโมอาจช่วยให้คู่ของคุณมีน้ำเชื้อที่มากพอที่จะทำให้คุณตั้งครรภ์ได้ งด เหล้า บุหรี่ ทั้งตัวคุณ และคู่ของคุณอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้การปฏิสนธิของไข่ล้มเหลวได้ หรืออาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ของคุณได้รวมทั้งคุณผู้ชายที่สูบบุหรี่จะมีน้ำเชื้อน้อยกว่าผู้ชายที่ไม่สูบ


  • Week 2 เลือกเพศลูก นอกจากเลือกช่วงเวลาในการร่วมเพศแล้วโภชนาการก็มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการเลือกเพศให้ลูกเช่นกัน ถ้าหากคุณต้องการลูกผู้หญิง คุณต้องกินอาหารที่มีสารอาหารประเภทแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง ซึ่งคุณจะได้สารอาหารเหล่านี้จากอาหารจำพวกแป้ง หรือผลิตภัณฑ์นม แต่ถ้าหากคุณต้องการลูกผู้ชาย คุณต้องกินอาหารที่มีสารประเภทโปตัสเซียม และโซเดียมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งคุณจะได้จาก ผัก ผลไม้สด และเนื้อสัตว์ทุกชนิด


  • Week 3 เริ่มการปฏิสนธิ ทันทีที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะขยายเซลล์ออกไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ดังนั้นหากคุณต้องเอาใจใส่กับคุณภาพลูกน้อยในครรภ์ ควรเริ่มจริงจังนับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปกินอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ของตัวอ่อนมีความแข็งแรงคุณควรได้รับกรดโฟลิก และวิตามินรวมให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ไปจนปลายสัปดาห์ 12


  • Week 4 ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก ช่วงนี้เองที่คุณเริ่มรู้สึกแปลกๆ ของอาการแพ้ท้อง ที่เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้คุณได้รู้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์แล้ว อาการแปลกๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณอยากกินอาหารแปลกๆ ที่ปกติไม่เคยชอบ หรืออยากกินอาหารที่มีรสเปรี้ยวการตามใจปากบริโภคอาหารเหล่านี้เข้าไปมากอาจทำให้คุณขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ของคุณได้ช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัวในเยื่อบุผนังมดลูก คุณจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะมันจะช่วยสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่นำเอาออกซิเจนมาสู่ตัวอ่อนได้ คุณสามารถได้รับธาตุเหล็กจากอาหารกลุ่มธัญพืชต่างๆ ถั่ว ตระกูลต่างๆ ผักขม และผงกะหรี่


  • Week 5 สร้างรกและอวัยวะ คุณควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูง กรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีน จะช่วยให้ลูกของคุณมีเสบียงมากพอในการสร้างอวัยวะต่างๆ โปรตีนจะมีอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อ, นม, โยเกิร์ต, ชีส และพืชตระกูลถั่วนอกจากนี้ธาตุเหล็ก และแคลเซียมยังคงจำเป็นอยู่มาก คุณควรเลิกดื่มชา กาแฟ เพราะคาเฟอีนจะทำให้การดูดซึมของธาตุเหล็กได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าคุณอดไม่ได้จริงๆ คุณก็สามารถดื่มได้ เพราะไม่มีอันตรายใดๆ ต่อลูกในครรภ์ แต่ควรดื่มประมาณวันละ 2-7 ถ้วยต่อวันสำหรับกาแฟสำเร็จรูป และ 1-4 ถ้วยต่อวันสำหรับชา และควรทิ้งระยะเวลาจากอาหารมื้อที่มีธาตุเหล็กประมาณครึ่งชั่วโมง เท่านี้คุณก็สามารถลิ้มรสชากาแฟ โดยที่ยังคงได้รับธาตุเหล็กอย่างเต็มที่จากอาหารมื้อปกติด้วย


  • Week 6 ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ทำให้อาการแพ้ท้องเริ่มรุนแรงในบางราย คุณควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค กินให้น้อยลง แต่ให้บ่อยครั้งขึ้น ถ้ากินอะไรไม่ได้เลย ให้กินขนมปังกรอบที่ผสมธัญพืช หรือผักโขมแทนได้ ในรายที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก ให้ฝานขิงอ่อนเป็นแผ่นบางๆ แช่ในน้ำร้อน แล้วค่อยๆ จิบ จะช่วยให้ดีขึ้น นอกจากนี้ให้พยายามหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อโรคจากการกินอาหารดิบๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไข่ที่ไม่ได้ปรุงให้สุกเสียก่อน, อาหารที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ และอาหารแช่แข็ง


  • Week 7 เซลล์ประสาทส่วนกลางและสมองพัฒนา ช่วงสำคัญที่สุดในการปูพื้นฐานสู่ความเป็นอัจฉริยะให้กับลูกอยู่ตรงนี้เอง โอเมก้าทรี คือสารอาหารที่จะช่วยให้สมองของลูกเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ซึ่งคุณจะได้รับจากน้ำมันปลา (ปลาแซลมอน, ปลาซาร์ดีน, ถั่วอัลมอล, ถั่วเหลือง, ถั่ววอลนัท), เมล็ดฟักทอง อย่าลืม! กรดโฟลิกช่วยทำให้เซลล์แต่ละตัวของตัวอ่อนแข็งแรง คุณยังคงจะต้องได้รับสารอาหารตัวนี้ต่อไปจนเข้าสัปดาห์ที่ 12


  • Week 8 เซลล์เม็ดสีพัฒนาระบบนัยน์ตาที่ซับซ้อนภายในสมอง คุณจึงยังต้องหมั่นกินอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้าทรีขณะเดียวกัน วิตามินบี 2 ก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกน้อยในครรภ์ คุณจึงต้องได้รับสารอาหารชนิดนี้ตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรก โดยคุณจะได้วิตามินบี 2 จาก นม, ไข่แดง, ไข่ปลา, เนยแข็ง ผักใบเขียว เป็นต้น


  • Week 9 เซลล์กระดูกมีโครงร่างที่ชัดเจน นิ้วมือและเท้าของทารกเริ่มแยกออกจากกันแคลเซียมคือสารอาหารหลักที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง คุณควรได้รับวันละ 700-800 มิลลิกรัมต่อวันจึงจะเพียงพอต่อการสร้างรากฐานกระดูก และฟันที่แข็งแรงให้กับทารกและยังช่วยป้องกันการขาดแคงเซียมในตัวคุณด้วย และเพื่อให้การดูดซึมแคลเซียมมีประสิทธิภาพ คุณยังต้องได้รับวิตามินดีด้วย ออกไปนอกบ้านรับแดดยามเช้าตรู่สักครึ่งชั่วโมง หรือถ้ากลัวผิวเสีย หรือไม่แน่ใจว่าแดดแรงเกินไปหรือไม่ ก็ให้กินพวกน้ำมันปลา ไข่ และนม ก็สามารถช่วยได้


  • Week 10 ทารกเริ่มได้อาหารจากคุณโดยตรง เพราะรกเริ่มมีการทำงานสมบูรณ์แล้ว ในช่วงนี้คุณจะต้องระมัดระวังอาหารที่บริโภคเข้าไป อาหารที่ไม่มีประโยชน์กับคุณ ก็จะให้ผลเช่นเดียวกับลูกของคุณ คุณควรงดการกินตับ และน้ำมันตับปลา หรืออาหารที่มีวิตามินเอสูง เพราะอาหารกลุ่มนี้จะมีกรดไขมันอิ่มตัวสามารถสะสมในร่างกายได้


  • Week 11 อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายคุณเร็วกว่าปกติ วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่างๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดี นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วยขณะเดียวกันคุณก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสจัดด้วย


  • Week 12 ร่างกายของคุณมีความต้องการน้ำมากขึ้น เพราะช่วงนี้ หน้าท้องของคุณจะขยายใหญ่จนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ดังนั้น คุณจึงต้องดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อทดแทนกับน้ำที่คุณสูญเสียไปเพราะน้ำมีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยอาหารภายในร่างกายของคุณ


  • Week 13 รกเริ่มทำหน้าที่ผลิตโปรเจสเตอโรนและเอสโทล เพื่อช่วยรักษาครรภ์ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในร่างกายของคุณ แต่ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจทำให้คุณมีอาการอักเสบ และมีเลือดออกได้ อาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยรักษาโรคเหงือกบวม และโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมให้กระดูกและฟันของทารกในครรภ์แข็งแรงอีกด้วยวิตามินซีมีในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งหลาย มีมากในฝรั่ง สตรอเบอรี่ บรอ๊อคโคลี่


  • Week 14 ต่อมไทรอยด์พัฒนาถึงขั้นพร้อมผลิตฮอร์โมน ถ้าหากคุณชอบกินผักกะหล่ำปลี คุณจะได้รับวิตามินซีจากผักชนิดนี้ แต่ในระยะนี้คุณควรจำกัดปริมาณการบริโภคผักกะหล่ำปลีลง หรือไม่กินดิบๆ เพราะมันมีสารยับยั้งการทำงานไทรอยด์ได้


  • Week 15 ผิวหนังเริ่มพัฒนา ถ้าหากคุณสามารถมองทะลุเข้าไปในท้องได้ คุณจะเห็นว่าลูกของคุณมีผิวหนังที่บางและโปร่งใสจนคุณสามารถมองเห็นเส้นเลือดของเขาได้ คุณสามารถช่วยเขาพัฒนาผิวหนังให้หนาขึ้นได้ด้วยการกินอาหารที่มีวิตามินเอคงจำกันได้ว่าเราห้ามไม่ให้คุณกินตับเพราะภายในตับมีวิตามินเอ ถูกแล้วล่ะค่ะ วิตามินเอในตับจะอยู่ในรูปของ “เรตินอล” ซึ่งจะให้ผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนวิตามินเอ ที่จะมีประโยชน์ต่อการควบคุมกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนังจะอยู่ในรูปของ “แคโรทีน” จะมีอยู่ในแครอท ผักใบเขียวเหลือง เนย ฟักทอง


  • Week 16 มดลูกขยาย น้ำคร่ำในรกเพิ่มขึ้นเป็น 7 ออนซ์ครึ่งวิตามินซี จะช่วยให้คอลลาเจนรวมตัวกันได้ดี ทำให้เซลล์ยึดติดกันเหนียวแน่น วิตามินซีนอกจากจะช่วยให้กระดูกและฟันของลูกคุณแข็งแรงแล้ว ยังช่วยผิวหนังของคุณมีความยืดหยุ่นสูงทำให้การแตกลายของผิวหนังลดลงและกลับคืนมาเป็นปกติอย่างสมบูรณ์หลังคลอด แต่คุณก็ไม่ควรลืมทาโลชั่นบริเวณผิวหนังที่แตกลายร่วมด้วยนะคะ


  • Week 17 ไขเคลือบผิวทารกเริ่มพัฒนาขึ้น เป็นไขมันชนิดพิเศษที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ทารกตลอดระยะเวลาที่อยู่ในครรภ์และช่วยปกป้องผิวอ่อนบางของทารกด้วย ไบโอตินจะช่วยในกระบวนการย่อยสลาย และดูดซึมกรดไขมัน วิตามินช่วยลดไขมันที่มีสภาพเป็นกลางในเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกมีมากในถั่วต่างๆ ผลไม้ น้ำมันจากข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน และผักเขียวปนเหลือง


  • Week 18 ระบบประสาทหู พัฒนาจนใช้งานได้แล้ว อวัยวะต่างๆ เติบโตจนทำให้ลูกของคุณสามารถรับรู้ความรู้สึกจากโลกภายนอกได้แล้วไบโอตินนอกจากจะช่วยในการถนอมผิวพรรณแล้ว ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทด้วยขณะที่วิตามินบี 1 จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นอาหารต่อระบบประสาท และยังช่วยปกป้องคุณจากโรคเหน็บชา อันเนื่องมาจากน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นและไปกดทับเส้นเลือดของคุณ ทำให้การหมุนเวียนของเลือดติดขัด มีมากในธัญพืช ข้าวกล้อง เนื้อวัว หรือเนื้อหมู เต้าหู้ ถั่วหมัก งา กระเทียม


  • Week 19 หนังศรีษะเริ่มมีผมงอกออกมา เล็บมือและเท้าเริ่มเจริญขึ้นผิวหนังหนาขึ้นเป็น 4 ชั้นแล้ว ในช่วงนี้คุณควรเริ่มให้ความสำคัญกับอาหารที่มีสังกะสีเพราะนอกจากจะช่วยเสริมการเติบโตของทารกน้อยในครรภ์คุณแล้ว ยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดด้วย มีมากในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่วอบแห้ง


  • Week 20 มดลูกขยายเบียดเข้าไปในช่องท้อง ช่วงนี้คุณจึงอาจมีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ ถ้าปล่อยไว้อาจเป็นริดสีดวงทวารได้ คาร์โบไฮเดรตนอกจากจะให้พลังงานกับคุณแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกให้กับคุณได้อีกด้วย มีมากในข้าว มันฝรั่ง ขนมปังโฮลวีต


  • Week 21 ระบบการย่อยอาหารพัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำ และน้ำตาลจากน้ำคร่ำที่กลืนเข้าไปได้ และขับของเสียออกมาในลำไส้ใหญ่ช่วงนี้ร่างกายของคุณมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการเผาผลาญอาหารไนอะซินจะช่วยเปลี่ยนน้ำตาล และไขมัน เป็นพลังงาน และยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทั้งของคุณ และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ มีการทำงานที่ดีขึ้นด้วย มีมากในเนื้อหมู ไก่ ปลา เห็ด ถั่วต่างๆ งา และธัญพืช


  • Week 22 เซลล์ประสาทพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ประสาทสัมผัสเจริญเต็มที่ ลูกของคุณจะใช้ประสาทส่วนนี้ในการเรียนรู้การเคลื่อนไหวความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย วิตามินบี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยบำรุงระบบประสาทส่วนกลางและเส้นประสาทส่วนปลาย มีมากในเนื้อวัว ไก่ หมู ปลา นม เนยแข็ง


  • Week 23 ปริมาณพลาสมาในตัวคุณเพิ่มขึ้น ทำให้คุณมีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางได้ ควรให้แพทย์ตรวจดูว่าคุณได้รับธาตุเหล็กเพียงพอหรือไม่ เพราะภาวะโลหิตจาง หากเป็นมากอาจเข้าขั้นอันตรายได้


  • Week 24 น้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุด การกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงตลอดช่วงของการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายจะทำให้มีไขมันน้อยลง ทำให้ทรวงทรงของคุณกระชับเข้าที่ได้อย่างรวดเร็วหลังคลอดแถมยังช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ด้วย คุณจะได้ไฟเบอร์จากผัก ผลไม้ ธัญพืช


  • Week 25 อวัยวะเพศ และระบบสืบพันธ์พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน ช่วงนี้การแบ่งเพศชายหญิงในตัวทารกจะชัดเจนแล้ว เด็กชายจะเริ่มมีถุงอัณฑะ ส่วนเด็กหญิงบริเวณช่องคลอดจะมีช่องลึกเข้าไป วิตามินเอ จะช่วยพัฒนาอวัยวะสืบพันธ์ของทารก


  • Week 26 ระบบนัยน์ตาพัฒนาเกือบสมบูรณ์ ลูกของคุณเริ่มลืมตาขึ้นได้แล้วในสัปดาห์นี้ สีนัยน์ตาของเขาจะพัฒนาต่อไปจนหลังคลอด 2-3 เดือน สีนัยน์ตาจึงถูกกำหนดขึ้นอย่างถาวรโดยรูม่านตา อย่าลืม! โอเมก้าทรีช่วยพัฒนาระบบนัยน์ตาของทารก


  • Week 27 ระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังอ่อนแอ ลูกของคุณมีรูปร่างหน้าตาคล้ายทารกแรกคลอดแล้วล่ะ ถ้าเขาเกิดอยากออกมาดูโลกตอนนี้ เขาจะมีโอกาสรอดชีวิต 85% ภายใต้การดูแลพิเศษ ปัญหาคือว่าระบบต่างๆ และอวัยวะอีกหลายส่วนยังมีการทำงานที่ไม่เต็มที่และระบบภูมิต้านทานยังอ่อนแออยู่ ธาตุเหล็ก แคลเซียม โอเมก้าทรี วิตามินซี ล้วนช่วยให้เขามีการเติบโตที่แข็งแรงมากขึ้น


  • Week 28 ถึงเวลาทดสอบภาวะต่างๆ ในร่างกายของคุณแล้ว ช่วงนี้คุณหมอจะนัดคุณถี่ขึ้น เพราะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายอาจภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นได้ แถมร่างกายของคุณก็อ่อนล้าจากการเปลี่ยนแปลงในร่างกายหลายอย่าง คาร์โบไฮเดรตและวิตามินบี 1 จะช่วยให้คุณมีพละกำลังพร้อมที่จะอึดเพื่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณต่อไป


  • Week 29 โปรแลคตินกระตุ้นเต้านมพร้อมผลิตน้ำนม ช่วงนี้หัวนมของคุณอาจมีน้ำนมสีเหลืองข้นไหลออกมา ปรากฏการณ์นี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการทำงานของเต้านม คุณควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายของคุณเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมไว้ให้กับลูกน้อยของคุณ


  • Week 30 มดลูกเริ่มหดรัดตัวเป็นครั้งแรก คุณจะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกเป็นพักๆ แต่ยังไม่ใช่อาการเจ็บท้องคลอด เป็นเพียงการเตรียมท่าของทารกให้พร้อมสำหรับการคลอดเท่านั้นไบโอตินในผลไม้สดแช่เย็น หลังอาหารจะทำให้คุณรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายอีกด้วย


  • Week 31 ปอดของลูกคุณพัฒนาขึ้นจนเกือบสมบูรณ์ ถุงลมในปอดสามารถหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมาเพื่อช่วยให้ถุงลมสามารถทำหน้าที่ของมันได้ หากทารกก่อนคลอดก่อนกำหนด แต่ตอนนี้เขายังต้องพึ่งออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดที่ฉีดเข้ามาทางสายสะดืออยู่ ช่วงนี้วิตามินซี มีความจำเป็นมาก มันจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กและช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกในครรภ์ขณะที่แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็นวิตามินเค จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้กับคุณ


  • Week 32 ศรีษะของลูกคุณเริ่มเคลื่อนลงแล้ว ลำตัวของเขาจะใหญ่ขึ้นจนเท้าชี้ขึ้นไปถึงซี่โครง แรงกดทำให้คุณรู้สึกเจ็บชายโครง อย่าลืมขอวิตามินเสริมจากหมอที่คุณฝากครรภ์ ลูกของคุณต้องการการบำรุงมากเป็นพิเศษในช่วงนี้


  • Week 33 ภาวะโลหิตจางในตัวคุณลดลง สืบเนื่องมาจากปริมาณพลาสมาเริ่มมีปริมาณเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดง อีกทั้งภาวะร่างกายของคุณในช่วงนี้ จะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารมื้อปกติเพิ่มขึ้นเป็น 66% คุณจึงไม่ต้องกังวลกับการบำรุงด้วยธาตุเหล็กอีกต่อไปแล้ว เว้นแต่คุณจะเป็นโรคโลหิตจาง


  • Week 34 ลูกของคุณอยู่ในท่าพร้อมที่จะคลอดแล้ว ต่อมหมวกไตของเขาจะผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ออกมามากเป็น 10 เท่าของร่างกายผู้ใหญ่การทำงานของปอดดีขึ้น จนไม่จำเป็นต้องพึ่งการดูแลพิเศษ หากต้องคลอดออกมาในตอนนี้ ถึงสอย่างนั้นเขาก็ยังอยากอยู่ข้างในท้องของคุณ ดึงแคลเซียมจากร่างกายของคุณมาเสริมสร้างกระดูกของเขาให้มีความแข็งแรงมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมว่าแคลเซียมยังจำเป็นเสมอสำหรับคุณ


  • Week 35 ยอดมดลูกขยับขึ้นในระดับสูงสุด อยู่ใต้กระดูกสันอกทำให้คุณหายใจขัดเจ็บชายซี่โครง รับประทานอาหารลำบาก ลองใช้วิธีเดียวกับตอนแพ้ท้องใหม่ๆ ดูซิคะ รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง และพักผ่อนให้มากจะช่วยได้


  • Week 36 กระโหลกศรีษะเป็นรูปร่าง แต่ยังไม่แข็งแรงพอแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี และโอเมก้าทรี จะช่วยให้กะโหลกศรีษะของลูกคุณแข็งแรงมากขึ้นและพร้อมที่จะมุดตัวโผล่พ้นช่องคลอดออกมาพบกับคุณในไม่อีกกี่สัปดาห์นี้


  • Week 37 เริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง และจะมีการสร้างต่อไปอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังคลอดเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท มีความสำคัญต่อสมองอัจฉริยะของลูกคุณจำได้หรือไม่? โอเมก้าทรี อาหารพลังสมองของลูกในท้องของคุณ


  • Week 38 ทารกเริ่มเคลื่อนศรีษะลงมาอยู่ที่อุ้งเชิงกราน ทำให้คุณรู้สึกโล่ง และหายใจสะดวกขึ้น แต่น้ำหนักของมดลูกจะไปกดทับที่กระเพาะปัสสาวะแทน ทำให้คุณเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น หมั่นดื่มน้ำบ่อยๆ เพราะน้ำยังจำเป็นต่อการดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายของคุณอยู่


  • Week 39 อาการเจ็บครรภ์เตือนเกิดขึ้น ความรู้สึกจะใกล้เคียงกับการเจ็บครรภ์คลอดจริง การหดรัดตัวไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้สบาย คิดถึงลูกของคุณที่จะคลอดออกมา เจ็บท้องคลอดจะเป็นอุปสรรคขี้ปะติ๋วสำหรับคุณ วิตามินบี 1 จะช่วยให้ระบบประสาทของคุณผ่อนคลายขึ้น


  • Week 40 ได้เวลาสบตาเทวดาของคุณซะที จุกเมือกที่ปากทางเข้ามดลูกลอกตัวออกมา ปากมดลูกเปิดออก ถุงน้ำคร่ำแตกของเหลวและเลือดไหลออกมาการหดรัดตัวของมดลูกแรงขึ้น เป็นจังหวะสม่ำเสมอและถี่ขึ้นเรื่อยๆ อาหารที่ให้พลังงานทุกชนิดจำเป็นสำหรับการเตรียมพร้อมของคุณคาร์โบไฮเดรต วิตามินบี 1 วิตามินซี และอาหารที่มีคุณค่ายิ่งกว่าสิ่งใดอาหารใจที่ได้กอดเทวดาตัวน้อยของคุณไว้ในอ้อมอก อ้า…ความอ่อนล้าทั้งหมดหายไปเป็นปลิดทิ้ง.

    ข้อมูลจาก : http://www.sudrak.com

How to process เกิดอะไรขึ้น ในช่วงpregnancy 9 เดือน ของการตั้งครรภ์


1st Month
The fertilized egg multiplies into many cells. Some cells develop into the embryo and some cells develop into the placenta. About 8 days after fertilization the embryo will attach to the uterine lining.
The embryo is only 1/8 inch long by the end of this first month, but has already begun to develop the early stages of a heart, liver and digestive system. Tiny buds form which will later develop into arms and legs.
2nd Month
All of the major organs are forming. The embryo's heart is pumping blood. The head is relatively large compared to the rest of the body and brain development is well underway. The eyes are distinctly visible. The hands and feet look like little scalloped paddles at this early stage.
By the end of the second month the embryo is a little over an inch long.
3rd Month
The embryo is now called a fetus. Kidneys are producing urine which the fetus excretes into the amniotic fluid. The amniotic fluid is cleansed via the umbilical cord then out through the mother.
Bone is replacing cartilage, and muscles are developing. Fingers, toes and eyelids have formed. Testicles have formed in boys and ovaries in girls.
By the end of the third month the fetus is about 2 1/2 - 3 inches long and weighs about 1/2 ounce.
4th Month
All organs have developed. The fetus just needs time to grow and mature. Beneath the gums, teeth are forming. Fine hair begins to grow all over the body. Fingernails form. The baby sucks and swallows.
The baby actively kicks its legs and moves its arms, but not with enough strength for the mother to be able to feel the movement.
By the end of the fourth month the baby is 5-6 inches long and weighs 3-4 ounces. The uterus is now about four inches in diameter and the mothers tummy may show a slight bulge.
5th Month
The baby has been busy growing and is now big enough for the mother to feel her fetus moving about inside of her. A thumb may find its way to the baby's mouth for sucking. Hair is growing on the head.
The baby can hear muffled sounds. A protective fatty substance called vernix covers the baby's skin.
By the end of the fifth month the baby is 8-10 inches long and weighs 8-12 ounces. Still under one pound!
6th Month
Finger prints are visible. The eyelids will part for the first time this month and the eyes will open. The lungs begin to mature, getting ready for a healthy first breath.
Bones are hardening as calcium deposits. The baby's movements become more vigorous. Until now, no body fat has accumulated, that occurs mostly in the third trimester.
The baby has reached a length of nearly 11-12 inches and weighs about 1 1/2 pounds.
7th Month
The brain is enlarging. Body fat is accumulating. There is less room for the baby to move around now. Taste buds are forming and the baby's senses are becoming more acute. The baby hears the voices of those nearby.
By the end of the seventh month the baby could have a good chance of survival if born prematurely, but would require intensive medical care.
The length has reached about 13-15 inches, and the baby now weighs close to 2 1/2 to 3 pounds.
8th Month
The lungs are maturing further. Continued rapid growth is occurring. Kicks may be visible by watching the mothers abdomen move. The baby occasionally gets the hiccups.
If delivered prematurely, the baby has an excellent chance of survival.
The baby is about 16-18 inches long now and weighs 4-5 pounds.
9th Month
The baby deposits body fat at a rate of nearly 1/2 ounce per day. The lungs are mature. In these tight quarters the baby may seem a little less active.



The normal position for the baby to be in as it prepares for birth is head down and facing the mothers back. The head engages in mother's pelvis. Mother carries the baby lower, making it easier for the mother to breath.
At birth the average baby weighs 7-1/2 pounds, but weight can vary between 6 to 9 pounds. Average length is 17 to 22 inches.


บทความนี้ได้สรุปพัฒนาการต่างๆของลูกน้อยในครรภ์เป็นรายเดือน แต่ละเดือนของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยมีพัฒนาการที่รวดเร็วและมีความต้องการในแต่ละช่วงไม่เหมือนกัน มาอ่านบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจกันนะคะ

  • ตั้งครรภ์ 1 เดือน ในเดือนแรกของการตั้งครรภ์ บางครั้งหรือส่วนมาก ไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ประจำเดือนที่ขาดหายไป อาจจะ............... ถ้าเป็นผู้ที่สนใจตัวเองจะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ เต้านมจะใหญ่แข็งมากขึ้น คัดและเจ็บ อารมณ์จะเปลี่ยนไป หงุดหงิด ความไร้เหตุผลมีมากขึ้น ใน 1เดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ ทารกในครรภ์จะมีขนาดเล็กมาก เพียงเท่าเมล็ดข้าว อยู่ในถึงน้ำคร่ำเล็กๆ ที่มีรกเกาะอยู่ผนังมดลูก ขณะนี้ตัวทารกน้อย ที่มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าวจะมีตุ่มยื่นออกมาที่กำลังพัฒนา เป็นแขนขา ระบบประสาทเริ่มเกิด และใกล้เคียงกับระบบไหลเวียนโลหิต ก็กำลังเริ่มสร้างเครือข่ายไปทั่วร่างกายของทารก เมื่อมีความผิดปกติของระดู ควรจะตรวจสอบการตั้งครรภ์ เพื่อให้ทราบผลที่แน่นอน และถ้าท่านตั้งครรภ์ก็ควรละเลิกพฤติกรรมที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของทารก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟ และสุรา เป็นต้น ดังนั้น ท่านควรไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ
  • ตั้งครรภ์ 2 เดือน ในเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์นั้น เป็นเดือนที่สำคัญ เพราะเป็นเวลาที่ตัวอ่อนหรือทารกน้อยๆ จะมีการพัฒนา เจริญเติบโตของระบบประสาทและหลอดเลือด ขณะเดียวกันอวัยวะที่สำคัญก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ทำให้ระยะเวลาดังกล่าวนี้ ทารกจะเสี่ยงต่อการเกิดความพิการ ถ้าได้รับสารพิษเข้าไป ในเดือนที่ 2 นี้ตัวทารกจะมีความยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ทารกก็จะมี แขน ขา หน้า รูปร่างเหมือนมนุษย์ขนาดจิ๋ว ขณะเดียวกันก็จะมีหัวใจที่เต้นทำงานบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ผู้ตั้งครรภ์ในเดือนที่ 2 นี้ ก็จะมีอาการแพ้ท้อง เช่นเดียวกับเดือนแรก คือจะมีอาการแสบท้องอ่อนเพลีย หน้าอกโตขยายใหญ่ขึ้น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงจะทำให้การย่อยอาหารช้าลง จะทำให้ผู้ตั้งครรภ์มักจะมีอาการท้องอืดเฟ้อ ท้องผูก และผู้ที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกหน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
  • ตั้งครรภ์ 3 เดือน ในเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้องอาจจะยังมีอยู่หรือเริ่มจะดีขึ้น อารมณ์ของผู้เป็นแม่จะเริ่มคงเส้นคงวา ในช่วงเดือนที่ 3 นี้ ด้วยเครื่องมือตรวจการทำงานของหัวใจ อาจจะได้ยินเสียงเต้นของหัวใจ ซึ่งถ้าผู้เป็นแม่ได้ยินแล้วจะรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น และน่าประทับใจ ในวัยนี้ทารกจะมีขนาดโดยประมาณ 3 นิ้วฟุต อวัยวะต่างๆ จะเกิดจนครบและกำลังพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ อวัยวะต่างๆ ก็เริ่มทำงานได้แล้ว สำหรับวัยขนาดครรภ์ 3 เดือนนี้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ยังไม่สามารถบอกเพศได้ว่าเป็นหญิงหรือชาย สำหรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนั้น จะเริ่มพบว่ามีอาการบวมของฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมทั้งเส้นเลือดก็จะเริ่มโป่งให้เห็นเป็นลักษณะเส้นเลือดขอดได้ง่ายขึ้น
  • ตั้งครรภ์ 4 เดือน การตั้งครรภ์ในระยะนี้ นับเป็นเดือนแรกของไตรมาสที่สอง อาการแพ้ท้องในเดือนนี้มักจะหายไป เริ่มทานอาหารได้มาก ทำให้น้ำหนักเริ่มมากขึ้น อารมณ์เข้าสู่สภาพปกติ แต่ยังอาจจะมีสภาพใจลอย อาการตกขาวอาจจะมีมากขึ้น เส้นเลือดขอดและ ริดสีดวงทวารจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนทั่วไป จากการขยายตัวของมดลูกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อระบบไหลเวียนของโลหิตในปลายเดือนที่ 4 นี้ ผู้เป็นแม่อาจจะรู้สึกได้ถึงการดิ้นของทารกในครรภ์ ถ้าเคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อน จะมีความรู้สึกว่าลูกดิ้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งตรงข้ามกับหญิงตั้งครรภ์แรกทารกในครรภ์ขณะนี้จะยาวประมาณ 4 นิ้วฟุต ทารกสามารถจะดูด กลืน เคลื่อนไหวได้คล้ายกับมนุษย์ทั่วไปที่ตัวเล็กๆ นั่นเอง แต่ก็ยังอ่อนแอไม่สามารถมีชีวิตอยู่นอกโพรงมดลูกได้
  • ตั้งครรภ์ 5 เดือน ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะการตั้งครรภ์ได้ผ่านมาครึ่งทางแล้ว ขณะนี้ผู้เป็นแม่มักจะมีความรู้สึกถึงการดิ้นของทารกได้ การดิ้นครั้งแรกๆ จะรู้สึกเบาและห่าง ซึ่งจะค่อยๆ ดิ้นแรงขึ้นๆ และถี่ขึ้นๆ ขณะนี้ผู้เป็นแม่มักจะมีอารมณ์ดี ไม่ซึมเศร้า ทารกในขณะเดือนที่ 5 จะมีขนาดประมาณ 10 นิ้วฟุต ศรีษะทารกยังค่อนข้างโต มีการเคลื่อนไหวของแขนขาและคอได้ดี นิ้วมือและนิ้วเท้าแยกกันชัดเจน อวัยวะเพศสามารถแยกได้ชัดเจนว่าเพศหญิงหรือเพศชาย ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้เป็นแม่ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะสร้างความวิตกกังวลให้แก่ตนเองได้ คือ การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง จะมีผิวสีเกิดขึ้น ทั้งที่ใบหน้าหรือหน้าท้อง ที่หน้าจะทำให้เกิดสิว ฝ้า ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไปหลังคลอดขอให้คุณแม่ทั้งหลายที่ตั้งครรภ์มาถึงขณะนี้ ได้มีความอดทนต่อภาวะการตั้งครรภ์ต่อไป อีกไม่นานนักท่านจะได้เห็นลูกน้อยที่น่ารักออกมาจากครรภ์
  • ตั้งครรภ์ 6 เดือน เดือนที่ 6 เป็นเดือนที่ทารากจะดิ้นได้ดี บางครั้งก็จะเกิดความเจ็บปวดจากการดิ้นได้ ถ้าทารกดิ้นเข้าไปกระแทกกระเพาะปัสสาวะ หรือ ชายโครง สำหรับในเดือนที่ 6 นี้ มดลูกจะขยายใหญ่มากขึ้น จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังหน้าท้อง คือจะเกิดผิวหนังแตกเป็นลาย ที่เรียกว่าหน้าท้องลาย จะมีอาการคันตามมา ในช่วงเดือนนี้ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ เช่น การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการพิษแห่งครรภ์ การอักเสบติดเชื้อราจะพบได้ง่ายมาก และการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยขึ้น ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในส่วนของทารก ขณะนี้มีขนาดยาวประมาณ 13 นิ้วฟุต น้ำหนักประมาณ 700-800 กรัม ตาทารกเริ่มลืมและนิ้วมือเริ่มมีลายนิ้วมือ แต่ผิวหนังยังไร้ไขมัน ถ้าทารกคลอดก่อนกำหนดในเดือนดังกล่าวนี้ โอกาสจะเลี้ยงรอดยากมาก
  • ตั้งครรภ์ 7 เดือน เป็นการเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ท้องโตมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ท้องที่โตมากขึ้นทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น เพราะมดลูกที่โตจะมาดันกระบังลมทำให้หายใจได้สั้น ๆ คุณแม่จะรู้สึกถึงความอุ้ยอ้าย เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่ว นอนหลับไม่ได้เต็มที่จากการที่ทารกในครรภ์จะตื่น และตัวมดลูกเองก็จะบีบตัวเป็นระยะห่าง ๆ กัน เป็นการเริ่มต้นการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นแต่ก็ไม่ถึงกับมีการเจ็บปวดเกิดขึ้น และจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที ในระยะนี้คุณแม่ควรจะได้เข้าอบรมเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมคลอด เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อเจ็บครรภ์คลอดและเข้าสู่กระบวนการคลอด ในช่วงระยะนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเพิ่มสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม ทารกในครรภ์ขณะนี้จะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมโดยประมาณ ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจาม ดูดมือ ดูดนิ้วเท้า
  • ตั้งครรภ์ 8 เดือน ขณะนี้ท้องจะใหญ่มากขึ้นจนคุณแม่จะรู้สึกถึงความอึดอัด ท้องที่โตขึ้นทำให้พื้นที่ปอดขยายลดลง คุณแม่จะเหนื่อยง่าย หายใจเร็วสั้น กระเพาะปัสสาวะจะถูกกด ทำให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย ๆ โดยเฉพาะเวลานอนก็จะถูกรบกวนได้จากการที่ต้องลุกไปปัสสาวะ และจากการดิ้นที่รุนแรงของเด็กทารกในครรภ์ ซึ่งขณะนี้การเจริญเติบโตของระบบกล้ามเนื้อมากขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย ๆ จะพบได้ เพราะการย่อยอาหารถูกกระทบกระเทือนไป จะมีอาการของหลอดอาหารอักเสบตามมา มือเท้า จะบวม เริ่มเป็นตะคริวบ่อยขึ้น ท้องผูกจะเป็นสิ่งปกติของคุณแม่ระยะนี้ ตกขาวจะมีมากขึ้น ในบางคนจะมีน้ำนมไหลออกมา ซึ่งเป็นหัวน้ำนมก็ว่าได้ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง ทารกขณะนี้จะมีน้ำหนักโดยประมาณ 2 กิโลกรัม คุณแม่ควรจะต้องเรียนรู้กระบวนการคลอด และสังเกตถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น น้ำเดิน เป็นต้น ควรจะได้เตรียมเครื่องใช้สำหรับการเข้าอยู่ในโรงพยาบาลไว้ให้พร้อม
  • ตั้งครรภ์ 9 เดือน สำหรับท่านที่ตั้งครรภ์มาจนถึงเดือนที่ 9 พอเข้าเดือนที่ 9 คุณก็เริ่มนับถอยหลังได้แล้ว วันเวลาแห่งการรอคอยจะมาถึงในไม่ช้าไม่นาน ท้องที่โตขึ้นจะลดลงจนคุณแม่รู้สึกได้ เพราะตัวเด็กทารกในครรภ์เริ่มลงสู่เชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกโล่งขึ้นและหายใจได้ดีขึ้น คล่องแคล่วขึ้น แต่จะหน่วงในช่วงเชิงกรานมากขึ้น เพราะส่วนนำของทารกจะลงไปกดอวัยวะในช่องเชิงกราน อาจจะปวดที่หัวเหน่า ปวดที่โคนขาจากการกดทับเส้นประสาทขา ปัสสาวะจะบ่อยขึ้นมาก ทารกในครรภ์จะดิ้นน้อยลงบ้างแต่ไม่มากนัก การสังเกตการดิ้นของทารก ถือเป็นการเฝ้าระวังต่อสุขภาพเด็กทารกที่ดีที่ผู้เป็นแม่ควรปฏิบัติ โดยสังเกตดูใน 1 ชั่วโมงหลังอาหาร เด็กทารกในครรภ์ต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ถ้าน้อยกว่าให้สังวรว่า อาจจะมีความผิดปกติเกิดแก่ทารก ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็ว ทารกในครรภ์ขณะนี้จะมีน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ยประมาณ 2.5 กิโลกรัม ในอีกไม่ช้าไม่นาน ไม่แน่ว่ากลางวันหรือกลางคืน คุณจะมีสมาชิกใหม่ของครอบครัวเพิ่มขึ้น

แหล่งข้อมูล : เวบสุดรัก

Sunday, August 17, 2008

เสียงดนตรีช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์



Smart Symphonies เสียงดนตรี สื่อดีๆ เพิ่มไอคิวจากผลการศึกษาถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์จากการตรวจอัลตราซาวนด์ของ Heinz Prechtl ที่ได้ติดตามและวิเคราะห์ภาพอัลตราซาวนด์สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 10 ปี พบว่า ทารกมีการพัฒนาความสามารถในการรับรู้ เกี่ยวกับจังหวะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้แล้ว และสามารถเคลื่อนไหวตอบสนองตามเสียงที่มีจังหวะเร็วและช้า
จากการวิจัยดังกล่าวยังพบอีกว่า อัตราการเต้นของหัวใจมีการเปลี่ยนแปลงด้วย อีกทั้งลูกน้อยยังสามารถตอบสนองต่อเพลงที่ได้ยินจนคุ้นเคยและจะมีปฏิกิริยาต่อเพลงที่โปรดปรานด้วย รวมทั้งเพลงหรือดนตรีคลาสสิกที่คุณแม่เคยเปิดให้ฟังเสมอๆ ขณะอยู่ในครรภ์ หลังจากคลอดแล้ว หากเปิดเพลงนั้นอีกลูกน้อยจะแสดงให้รู้ว่า จำได้ และยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า เสียงดนตรีจะส่งผลดีต่อสมอง และพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกน้อยในครรภ์
ในปี พ.ศ.2524 Dr. Leon Thurman นักวิจัยชาวอเมริกันได้ทดลองเปิดเสียงดนตรีให้คุณแม่ตั้งครรภ์ฟังเป็นประจำทุกวัน พบว่า เด็กที่คลอดออกมามีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และ I.Q. ทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กทั่วไปและเด็กยังเลี้ยงง่าย มีอารมณ์แจ่มใส รวมทั้งมีความผูกพันกับคุณแม่มากขึ้นด้วย
จากความสำคัญในการเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อยในครรภ์ด้วยการฟังดนตรีนี้ Dr. Thomas R.Verny จิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และประธานสมาคมการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กในสหรัฐอเมริกา เคยกล่าวไว้ว่า ในกลุ่มคุณแม่ที่ร้องเพลงกล่อมเด็กให้ลูกในครรภ์ฟังทุกวันอย่างสม่ำเสมอนั้น เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว และได้ยินเสียงเพลงนี้จากคุณแม่อีก ลูกน้อยมีแนวโน้มที่จะนิ่งเงียบ และแสดงอาการสนใจเพลงนั้นเป็นอย่างมาก
ข้อควรระวัง หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่ชอบฟังดนตรีคลาสสิกและรู้สึกอึดอัด ไม่คุ้นเคย ก็ไม่ควรฝืนฟัง เพราะจะมีผลต่ออารมณ์ของคุณแม่ ในกรณีนี้คุณแม่สามารถหาเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกสบาย อารมณ์ดี ซึ่งจะเป็นการดีต่อลูกน้อยมากกว่าที่คุณแม่ฝืนฟังเพลงที่รู้สึกอึดอัด


เริ่มให้ลูกฟังดนตรีขณะอายุครรภ์กี่เดือน ดี


ความเหมาะสมในช่วงการตั้งท้องและเริ่มเปิดเพลงที่คุณแม่ชื่นชอบฟังแล้วสบายใจพร้อมกับลูกรับรู้ด้วยควรเริ่มในช่วงตั้งท้อง 5 เดือน เนื่องจากขณะนั้นทารกมีอวัยวะครบทุกส่วนร่างกายสมบูรณ์แล้ว รับรู้การได้ยิน สิ่งสำคัญอีกหนึ่งเรื่อง คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเพลงที่จะเสริมสร้างสมองให้ลูกต้องเป็นเพลงของโมซาร์ทเท่านั้น ความจริงแล้วคุณแม่สามารถฟังเพลงได้ทุกประเภทที่ชอบ อาจจะเป็นบทสวดมนต์ เพลงไทยเดิม หรือดนตรีที่มีโน้ตจากเครื่องดนตรีประเภทใดประเภทหนึ่ง เนื่องจากหากคุณแม่มีความสุขทารกที่อยู่ภายในครรภ์จะได้รับความสุขด้วย"ด้าน ดร.สุพรพร เทพยสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย บอกว่า การสังเกตว่าลูกมีการตอบสนองหรือไม่นั้นเวลาที่คุณพ่อหรือคุณแม่เปิดดนตรีให้ลูกฟัง หากเป็นเพลงที่ฟังง่ายๆ สบายๆ ทั้งคุณแม่จะผ่อนคลาย หากเป็นเพลงที่มีจังหวะเร็ว เด็กจะดิ้นแรงมีปฏิกิริยาตอบสนอง โดยคลื่นเสียงช่วยปรับให้สมองมีการพัฒนาด้านดีด้วยดนตรีเมื่อรู้เช่นนี้แล้วช่วงรอเวลาที่จะได้พบกับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าลืมเปิดเพลงไพเราะให้ลูกน้อยในครรภ์ได้ฟังเพื่อที่ทั้งคุณพ่อคุณแม่และคุณลูกจะได้มีความสุขไปพร้อมๆ
[ที่มา: เว็บไซต์สนุกดอทคอม]

ความสัมพันธ์และอารมณ์ของคุณแม่ ขณะตั้งครรภ์



ในระหว่างตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้อารมณ์ของคุณแม่แปร ปรวนได้ ซึ่งจริงๆแล้วถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกกังวล เป็นบางครั้งเพราะต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตเพื่อที่จะ สร้างความเข้าใจให้คุณแม่หายกังวลจากเรื่องต่างๆ เช่น ทำยังไงจึงจะเป็น แม่ที่ดีเปิดโอกาสให้ลูกคนอื่นๆเข้ามีส่วนร่วมในช่วงตั้งครรภ์ได้อย่างไร ตลอดจนความรู้สึกว่าทำไมใครๆก็มัวสนใจแต่ท้องของคุณหากคุณแม่ ต้องการพูดคุยกับใครสักคน เราพร้อมให้คำแนะนำด้วยความยินดีเสมอ


ถ้าคุณรู้สึกหดหู่ซึมเศร้า ควรหันมาดูแลตัวเองบ้าง


ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้ รวมถึงการที่ใครๆ ก็คอยถามคุณแต่เรื่องท้อง จนดูเหมือนว่าการตั้งครรภ์เข้ามาครอบงำชีวิตคุณทั้งหมด ทำให้แม้แต่คำพูดไร้สาระเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจทำให้คุณรู้สึกเบื่อหน่ายและฉุนเฉียวได้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่คุณอาจจะเริ่มมีปฏิกิริยาในแง่ลบกับความเหน็ดเหนื่อยจากการที่ต้องปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปหรือจากการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอเพราะต้องลุกมาเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนบ่อยๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักรู้สึกผิดกับภาวะซึมเศร้าในช่วงตั้งครรภ์ เพราะพวกเขารู้สึกว่าตัวเองควรจะมีความสุขและแสดงให้คนอื่นเห็นว่าพวกเขารู้สึกตื่นเต้นกับการตั้งครรภ์มากแค่ไหน อย่างไรก็ตาม หากคุณกำลังรู้สึกซึมเศร้าจำไว้เสมอว่าไม่ใช่แค่คุณเท่านั้นที่เกิดอาการแบบนี้ แต่ภาวะอารมณ์แปรปรวนในช่วงตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนแม้แต่คนที่อารมณ์ดีเสมอ เพราะฉะนั้น พยายามอย่าปล่อยให้อารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ เข้ามามีอิทธิพลเหนือคุณ แต่ควรหาอะไรทำเพื่อให้คุณรู้สึกดีขึ้นเวลาที่หดหู่ เช่น ไปสปา ไปทำผม ไปดูหนังฟังเพลง แช่น้ำอุ่นเป็นการผ่อนคลายหรือดูแลตัวเองด้วยวิธีใดก็ได้เพื่อให้คุณกลับมารู้สึกดีกับตัวเองเหมือนเดิม


อย่าเก็บความกังวลใจไว้คนเดียว


การตั้งครรภ์แต่ละครั้งย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีความรู้สึกเครียดอยู่บ้าง เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอะไรให้ต้องคิดและกังวลใจมากมาย เช่น การมีลูกคนใหม่จะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์
ชีวิตทางสังคมหรือสุขภาพของคุณหรือไม่ การพูดคุย ปรึกษาสิ่งที่กังวลใจกับคนรัก ครอบครัว และเพื่อนสนิท จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับภาวะอารมณ์แปรปรวนและเปิดโอกาสให้คนอื่นได้รับรู้และเข้าใจความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของคุณได้ดีขึ้น อย่าลืมว่าคนรักของคุณพร้อมให้ความช่วยเหลือและรับฟัง ที่สำคัญการพูดคุยกันยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่นขึ้นไปอีก การเปิดใจและเปิดโอกาสให้คนอื่นได้เข้ามามีส่วนรับรู้ อาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นเมื่อรู้ว่ายังมีหลายคนที่คอยอยู่เคียงข้างคุณ

ภาวะซึมเศร้าก่อนคลอด


ถ้าคุณไม่สามารถสลัดความรู้สึกหดหู่ซึมเศร้าออกไปจากใจได้ โดยไม่ว่าจะพยายามด้วยวิธีใดแล้วก็ตาม อาจเป็นได้ว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าในช่วงก่อนคลอด ( Antenatal Depression) ซึ่งหนักกว่าความรู้สึกเศร้าทั่วๆไปในขณะตั้งครรภ์ หากคุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกซึมเศร้าและไม่แน่ใจว่ากำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าก่อนคลอดหรือไม่ ควรลองปรึกษาสูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณ แต่สิ่งสำคัญคือควรบอกตัวเองไว้เสมอว่าภาวะนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และมีอีกหลายๆคนที่คอยให้ความช่วยเหลือให้คุณผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยดี

อาการผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์





80 วันที่แสนจะยาวนานของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ มันเป็นช่วงเวลาที่มิได้โรยไว้ด้วยกลีบกุหลาบอย่างแน่นอน เอาล่ะถึงแม้จะมีบ้างที่บอกว่า แสนจะสบายเสียเหลือเกินขณะตั้งครรภ์นั้น แต่ผมก็เชื่อว่ามีน้อยคนเต็มที ขณะที่ส่วนใหญ่มักจะพบกับปัญหาโน่น ปัญหานี่มากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่คน ผมจึงขอถือโอกาสนี้ สาธยายให้ฟังในบางเรื่องเกี่ยวกับอาการที่ผิดปกติขณะตั้งครรภ์ และคุณแม่ควรจะต้องระวังตัวให้ดี

เริ่มกันตั้งแต่ตั้งครรภ์กันเลยเป็นไง

เมื่อตั้งครรภ์ประมาณเดือนเศษ คุณแม่บางคนอาจจะมีเลือดออกมาทางช่องคลอดเพียงเล็กน้อย ให้ตกใจเล่น เพียงแค่วันสองวันก็จะเงียบหายไป อันนี้ไม่ต้องตกใจนะครับ ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ปกติ คือเป็นภาวะการณ์ที่เรียกว่า "เลือดล้างหน้า" แต่ถ้าสองวันก็แล้ว สามวันก็แล้ว สิบวันก็แล้ว เลือดก็ไม่ยอมหยุด แม้จะออกเพียงแค่กระปิดประปอยก็ตาม คุณแม่ก็ต้อง ไปพบแพทย์แล้วล่ะครับ จะได้ตรวจหาสาเหตุว่า เลือดนั้นออกมาจากตรงส่วนไหน หรือจากอะไรกันแน่ เป็นการตั้งครรภ์ไข่ฝ่อ คือไม่มีตัวเด็กหรือเปล่า หรือว่าเป็นอย่างอื่น เพราะการที่เลือดออกหลาย ๆ ครั้งในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น มันเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างแน่นอน
แต่ถ้ามามีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ได้หลาย ๆ เดือนแล้วนั้น ี่สำคัญที่สุดที่คุณแม่ ควรจะต้องรู้ให้ได้ คือรกเกาะต่ำหรือไม่ แล้วเรื่องรกเกาะต่ำถ้าเกิดขึ้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากทีเดียว เพราะเปรียบเสมือนกับระเบิดเวลา ที่มันพร้อมจะระเบิดได้ทุกเมื่อ ทุกขณะที่เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ นั่นก็คือ มันพร้อมที่จะมีเลือดออก จนทำให้คุณแม่หรือทุกคนในครอบครัว เกิดความวุ่นวายขึ้นมาได้โดยไม่ทันตั้งตัว
ฉะนั้นคุณแม่ที่มีประวัติเลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ก็ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าออก เพราะเหตุอันใด โดยเฉพาะเป็นเรื่องของรกเกาะต่ำหรือไม่ ถ้าเกิดเกาะต่ำขึ้นมา ตรงนี้คุณแม่ก็ต้องระวังตัวหนักชึ้นกว่าเดิมจะต้องอย่ากระทบกระเทือนต่อครรภ์โดย ไม่จำเป็นอะไรหลีกเลี่ยงได้ก็ขอให้หลีกเลี่ยง เช่น การเดินช้อปปิ้ง การไปเที่ยว การสะเทือนเวลาเดินทางไปไหนมาไหน และโดยเฉพาะเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ ต้องงดเว้นอย่างเด็ดขาดนั้นเป็นเรื่องเลือดออกที่เป็นเรื่องหนึ่งของความผิดปกต ิที่พบได้บ่อย
อีกเรื่องหนึ่งของความผิดปกติที่อยากจะกล่าวถึงคือ เรื่องของความดันโลหิตสูง

โดย ปกติแล้วขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์อ่อนๆ โดยเฉพาะในสามเดือนแรกนั้น ความดันโลหิตมักจะลดลงต่ำกว่าภาวะปกติด้วยซ้ำไปแต่ถ้าคุณแม่ท่านใด เมื่อไปฝากครรภ์แล้วคุณหมอตรวจพบว่าความดันโลหิตสูงผิดปกติ แม้จะสูงไม่มากนักก็ตาม นั่นไม่สิ่งที่ดี แต่เป็นสิ่งทีคุณแม่จะต้องระวัง เพราะการที่มีความดันโลหิตสูง เป็นทุนเดิมอยู่ก่อนในครรภ์อ่อน ๆ นั้น
โอกาสที่คุณแม่จะพบกับครรภ์เป็นพิษ เมื่ออายุครรภ์เกินห้าเดือนไปแล้วสูงมาก ดังนั้นจึงต้องพยายามลดความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษขึ้นมาให้ได้ ผมขอแนะนำดังนี้นะครับว่า ประการแรกความดันโลหิตที่สูงนั้น มันมีความจำเป็น จะต้องใช้ยาลดหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้สูติแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเอง แต่สิ่งที่คุณแม่ จะช่วยเหลือตัวเองได้ ก็คือต้องพยายามอย่าให้น้ำหนักตัวขึ้นมาก หรืออ้วนอย่างเด็ดขาด เพราะความอ้วนจะยิ่งทำให้ครรภ์เป็นพิษมันได้ใจมากยิ่งขึ้น ทีนี้ถ้าคุณแม่มีทั้งความดัน โลหิตสูงบวกกับความอ้วน ผมเชื่อว่าคุณแม่จะหนีครรภ์เป็นพิษไม่พ้นนะสิครับ

ฉะนั้นถ้าหากพบว่าความดันโลหิตสูงอยู่แล้วก็อย่าให้อ้วนอย่างเด็ดขาด แต่ถ้าเกิดอ้วนอยู่ ่แล้ว ก็ถือว่าเป็นดวงก็แล้วกัน แล้วจะทำอย่างไรถึงจะไม่ให้อ้วนไม่มีอะไรยากครับ เพราะเป็นที่ทราบดีว่า ขณะตั้งครรภ์นั้นร่างกายของคุณแม่ จะเก็บสะสมอาหารประเภทไขมันได้เป็นอย่างดี จึงควรหลีกเลี่ยง
แม้แต่อาหารประเภทแป้งก็จำต้องหลีกเลี่ยงด้วย เพราะว่าส่วนเกินของมันก็จะเปลี่ยน ไปเป็นไขมันแล้วเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ทำให้คุณแม่อ้วนเอา ๆ ได้เหมือนกัน ขอให้ไปเน้นพวกผักผลไม้แล้วก็พวกเนื้อไม่ติดมัน พวกปลามาก ๆ เข้าไว้

ครับนอกจากจะระวังเรื่องของอาหารแล้ว คุณแม่ควรจะได้ออกกำลังกายบ้าง ออกกำลังแค่เพียงเบา ๆ ด้วยการเดินเร็ว วันละซัก 20 นาทีก็พอแล้ว การที่คุณแม่ได้ออกกำลังกายพอให้เหงื่อแตกบ้าง ผมเชื่อว่าน่าจะช่วย ให้ความดันโลหิตที่สูงผิดปกติอยู่นั้น ลดต่ำลงมาได้บ้าง
นอกจากความผิดปกติที่ผมกล่าถึงมาข้างต้นก็ยังมีอีกหลาย ๆ อย่างที่อาจจะเกิดขึ้นมากับคุณแม่ บ้างก็รู้ตัว มีอาการบ้างก็ไม่รู้ตัว เพราะ ไม่มีอาการ นอกเสียจากว่าแพทย์จะเป็นผู้ตรวจพบ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ มีอะไรผิดปกติขึ้นมา หรือว่ามีอะไรที่คุณแม่สงสัย ก็จะได้รู้เรื่องกันไปตอนที่ไปพบคุณหมอให้ตรจครรภ์นี่แหละครับ
ที่มา : นิตยสาร บันทึกคุณแม่

หญิงมีครรภ์ควรอยู่ห่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปล่อยคลื่นแม่เหล็ก





เป็นข้อแนะนำสำหรับหญิงมีครรภ์อีกแล้วค่ะ คราวนี้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับของใกล้ตัว ที่สามารถสัมผัสได้บ่อยเหลือเกินในชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่รู้ตัวว่าอาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน


นักวิจัยจากสหรัฐฯ ระบุว่าการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เตาไมโครเวฟ และเครื่องเป่าผม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่แผ่สนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมามีโอกาสทำให้แท้งลูก หรือให้กำเนิดทารกก่อนกำหนดได้ ทั้งนี้จากการวิจัยชิ้นใหม่พบว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาอย่างสม่ำเสมอจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน สามารถเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่าที่จะทำให้สตรีมีครรภ์แท้งลูก


ทั้งนี้นักวิจัยได้สังเกตการณ์จากหญิงตั้งครรภ์เกือบ 1,000 คนแล้วพบว่ามีประมาณ 159 คน แท้งลูกและในจำนวนนี้ 132 คน ให้กำเนิดบุตรก่อนกำหนด เนื่องจากการได้รับคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงเป็นสองเท่าที่จะแท้งลูก และถ้าสตรีที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 1 – 10 สัปดาห์ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มเป็น 6 เท่าทีเดียว


นักวิจัยเขาเลยพากันออกมาแนะนำว่าหญิงกลุ่มนี้ควรอยู่ห่างจากเตาไมโครเวฟ เครื่องเป่าผมและยานพาหนะที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานขับเคลื่อนจะดีที่สุดพูดง่าย ๆ คือ ช่วยตัวเองไปพลาง ๆ ก่อน อย่าพึ่งเครื่องอำนวยสะดวกใด ๆ เลยนั่นเอง
ที่มา : นิตรสารขวัญเรือน

ตะคริว!!!!



ตะคริวมักมาเยือนคนท้อง เมื่อเป็นตะคริว ควร ปฎิบัติดังนี้


เหยียดขาให้เปลายนิ้วเท้าชี้ขึ้นมาที่หัวเข่า และเหยียดส้นเท้าไปข้ามหน้า ขณะที่เป็นตะคริว ให้รวบนิ้วเท้า และดึงเท้าเข้าหาหน้าแข้ง เพื่อช่วยยึดกล้ามเนื้อบริเวณน่อง การนวดก็สามารถช่วยลดอาการได้

แต่ไม่ควรเหยียดขา

โดยที่นิ้วเท้าชี้ไปข้างหน้า เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อน่องเกิดอาการตึง


สาเหตุของการเกิดตะคริว

เกิดจากการที่ร่างกายขาดแคลเซียม ซึ่งในระหว่างตั้งครรภ์นั้นร่างกายจะมีความต้องการวันละ 12000 มิลลิกรัม เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ โดยที่ทารกจะดึงแคลเซียมจากแม่ หากแม่รับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ จะมีผลระยะยาวคือทำให้เป็นโรคกระดูกผุในระยะยาว


อาหารที่มีแคลเซียมสูง

คือ นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม ปลาที่สามารถทานได้ทั้งกระดูก
ที่มา : นิตยสาร บันทึกคุณแม่

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับคนตั้งครรภ์


1. ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน
คุณเชื่อหรือไม่คะว่าคนสมัยก่อนเชื่อกันว่า การดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนทุกวันระหว่างตั้งครรภ์นั้น จะทำให้เด็กทารกที่คลอดมามีผิวพรรณสะอาดเกลี้ยงเกลา ไม่มีไขมันติดตัวออกมาเวลาคลอด เกี่ยวกับความเชื่อมในเรื่องนี้นั้นคุณคัทรินทร์ ปิยะวาทวงศ์ นักโภชนาการโรงพยาบาลพระรามเก้ากล่าวชี้แจงว่า “... ในเรื่องนี้นั้นยังไม่มีงานวิจัยออกมายืนยันอย่างชัดเจนค่ะว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นอย่างไร่ อย่างไร แต่เคยมีงานวิจัยของเมืองนอกชิ้นหนึ่งออกมาว่า ในน้ำมะพร้าวมีสารชนิดหนึ่งซึ่งช่วยให้มดลูกบีบตัว ดังนั้นหากหญิงมีครรภ์ดื่มน้ำมะพร้าวเข้าไปสารตัวนี้ก็จะไปช่วยให้มดลูกบีบรัดรก ทำให้เกิดมีการคล้ายๆ ชะล้างเกิดขึ้น ...เหมือนๆ กับที่มีข้อห้ามไม่ให้คนที่กำลังมีประจำเดือนดื่มน้ำมะพร้าวนั่นแหละค่ะ เพราะเกรงว่าจะไปบีบรัดมดลูก แต่ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ออกมายืนยันว่าดื่มน้ำมะพร้าวแล้วผิวพรรณเด็กจะดีค่ะ...” อย่างไรก็ตามไม่ได้มีข้อห้ามไม่ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มน้ำมะพร้าวที่แสนอร่อย เย็นชื่นใจ ... จริงไหมคะ
2. ห้ามนอนหงายเพราะรกจะติดหลังแล้วคลอดออกมาไม่ได้
พ.อ. ดาราพงศ์ ลังกาฟ้า สูตินรีแพทย์ได้กรุณาให้คำตอบเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องนี้ว่า “...เป็นการเข้าใจผิดของคนในสมัยก่อน ซึ่งไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องรกในร่างกาย รกจะไม่เกาะติดกับหลังของเรา เพราะรกอยู่ในมดลูก รกจะเกาะติดด้านหน้า หรือด้านหลังของมดลูกก็ได้ไม่มีอันตรายใดๆ ที่จะมีอันตรายคือ รกเกาะต่ำ โดยรกมาเกาะด้านล่างบริเวณปากมดลูก ซึ่งทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดได้ รกจะเกาะที่ไหนไม่ได้ขึ้นกับท่านอน การนอนตะแคงดีกว่านอนหงายในอายุครรภ์หลังๆ ตอนท้องโต การนอนหงายมดลูกจะไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ ซึ่งอยู่ด้านหลังมดลูกได้ ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง และเลือดไปหล่อเลี้ยงมดลูกน้อยลง เป็นอันตรายต่อแม่และเด็กได้ แต่ถ้านอนตะแคง มดลูกจะไม่ไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ อันตรายก็ไม่เกิดขึ้น...” ข้อห้ามไม่ให้ “คนท้องนอนหงาย” นี้ ดูเหมือนจะเป็นความเชื่อของคนแทบทุกภาคของประเทศ ต่างกันเพียงแค่เหตุผล (คำขู่) เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นเองค่ะ บางท้องถิ่นบอกว่า...หากคนท้องนอนหงาย ลูกในท้องจะดิ้นแรง ทำให้แม่ท้องแตกตายได้ ...ฟังแล้วน่ากลัวจังเลยนะคะ อย่างไรก็ตามจากการวิจัยทางการแพทย์ของหลายหน่วยงานยืนยันว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนตะแคงด้านซ้ายเพราะเส้นเลือดใหญ่อยู่ทางด้านขวา หากนอนตะแคงขวาจะทำให้เลือดไหลไม่ค่อยสะดวกค่ะ
3. ห้ามไปงานศพ
ร.อ. (หญิง) เพ็ญพร สมศิริ หัวหน้าโครงการเตรียมมารดาเพื่อการคลอด กองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้แนะนำไว้ในหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการรายวัน” (7 มี.ค. 2544) ว่า “...หญิงตั้งท้องในระหว่างรอคลอดอย่าเครียด และแสดงอาการวิตก เพราะจะส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์ ...ควรทำใจให้มีความสุขยิ้มแย้ม เด็กเกิดมาจะได้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง...” น่าแปลกที่ความเชื่อเรื่องนี้ปรากฏมีตรงกันแทบทุกท้องถิ่นของประเทศไทย แตกต่างกันเฉพาะเหตุผลที่ไม่อนุญาตหรือห้ามคนตั้งครรภ์ไม่ให้ไปร่วมงานเท่านั้นที่ไม ่ตรงกัน เช่น บางที่ให้เหตุผลว่า “กลัวมีวิญญาณร้ายจากสุสารติดตามมา” บางท้องที่ก็บอกว่า “กลัวผีเข้า” อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามหลักจิตวิทยาโดยยกเอาคำแนะนำของคุณหมอเพ็ญพรข้างต้นมาประกอบฬ จะเห็นถึงความห่วงใยที่คนรุ่นเก่ามีต่อคนตั้งครรภ์และเด็กในท้อง ไม่อยากให้ต้องเข้าไปอยู่ท่ามกลางบรรยากาศ แห่งความสูญเสียโศกเศร้า ทำให้จิตใจต้องสลดหดหู่และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นงานศพของญาติพี่น้องคนที่รักด้วย แล้ว อาจจะทำให้เกิดอาการ “เครียด” ขึ้นมาได้ ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อทั้งตัวแม่และลูกในครรภ์
4. ห้ามออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกาย คงเป็นเพราะในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่ส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน ฯลฯ ดังนั้น ในสมัยก่อนบางท้องถิ่นจึงมองว่าการตั้งครรภ์นั้นเหมือนเป็นการเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องการการพักผ่อนห้ามออกแรงในเรื่องนี้ พลเรือตรี นายแพทย์สุริยา ณ นคร รองเจ้ากรมแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “หญิงมีครรภ์กับการออกกำลังกายในน้ำ” ดังนี้ “...อย่างไรก็ดีหลักฐานต่างๆ แสดงว่าการออกกำลังกายสม่ำเสมอในระหว่างการตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการออกกำลังกาย ช่วยให้คลอดง่ายและหลังคลอดแล้วร่างกายจะคืนสู่สภาพปกติรวดเร็ว...” อย่างไรก็ตาม ท่านรองเจ้ากรมแพทย์ได้บอกว่า สตรีมีครรภ์ควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง และพอเหมาะภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ความเชื่อในเรื่องนี้ไม่เป็นเอกฉันท์แตกต่างไม่ตรงกันเหมือนดังข้ออื่นๆ เพราะบางท้องที่ทางภาคเหนือกลับนิยมให้หญิงมีครรภ์ทำงานบ้านไม่นั่งไม่นอนอยู่เฉยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่า หากอยู่เฉยๆ ไม่ทำงานแล้วท้องจะฝืดทำให้คลอดลูกยาก ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลที่คุณหมอแนะนำมาอย่างน่าประหลาดใจ
5. ห้ามกินกล้วยน้ำว้า เพราะจะทำให้คลอดยาก
คุณคัทรินทร์ ปิยะวาทวงศ์ นักโภชนาการจากโรงพยาบาลพระรามเกล้าได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “...กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สาเหตุที่คนโบราณห้ามไม่ให้คนท้องกินนั้นน่าจะมีหลายสาเหตุ อย่างเช่น กลัวเด็กจะตัวโตแล้วคลอดยาก เพราะในสมัยก่อนยังไม่มีการผ่าตัดทำคลอด หากเด็กในท้องอ้วนท้วนสมบูรณ์เกินไปจะเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และลูกได้ค่ะ อีกอย่างนั้นคือ ในกล้วยสุกๆ จะหวานมีแป้งมาก กินสองสามลูกก็จะรู้สึกอิ่มจนไม่อยากกินอย่างอื่น ทำให้ขาดสารอาหารได้ นอกจากนี้ การกินกล้วยห่ามๆ ไม่สุกจะทำให้เกิดอาการท้องผูก อาการท้องผูกนั้นเป็นปัญหาของคนท้องอยู่แล้ว ยิ่งกินกล้วยห่ามๆ เข้าไปจะทำให้มีปัญหาเรื่องท้องผูกมากยิ่งขึ้นค่ะ...”
6. ห้ามกินเนื้อวัว เพราะเชื่อว่าจะทำให้เนื้อตัวทารกที่เกิดใหม่ จะเต็มไปด้วยไขมันล้างออกยาก
เกี่ยวกับข้อห้ามข้อนี้ คุณคัทรินทร์กล่าวว่า “...จริงๆ แล้วโภชนาการสมัยใหม่ไม่ได้ห้ามไม่ให้คนท้องกินเนื้อวัวค่ะ แต่ควรระมัดระวังเพราะโดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่ที่กินเนื้อวัวมักจะไม่ชอบกินสันในแต่ชอบกินเนื้อติดมัน ซึ่งจะทำให้อ้วนมีไขมันเยอะค่ะ...”
7. ห้ามกินหอย
คนโบราณห้ามคนท้องกินหอยทุกประเภท เพราะมีความเชื่อว่า เวลาคลอดจะมีกลิ่นคาว และคลอดยากเหมือนหอยที่ติดอยู่ในเปลือก คุณคัทรินทร์ได้กรุณาชี้แจงในเรื่องนี้ว่า “โภชนาการคนท้องสมัยนี้ไม่มีข้อห้ามไม่ให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์กินหอยค่ะ เพราะหอยส่วนใหญ่จะให้คุณค่าให้สารไอโอดีนสูงคุณแม่ควรจะกินเพื่อป้องกันการขาดสารไอ โอดีน ยกเว้นแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ในรายที่มีไขมันในเลือดสูง ควรงดกิน โดยเฉพาะหอยนางรมที่มีคอเรสเตอรอลสูงมากค่ะ”
8. ห้ามกินผักที่เป็นเครือเถา
คนโบราณในบางท้องที่เช่นทางภาคเหนือจะห้ามไม่ให้คนท้องกินผักที่มีลักษณะเป็นเครือเถ า เช่นผักตำลึง ยอดฟักทอง เป็นต้น คุณคัทรินทร์อธิบายในเรื่องนี้ว่า “น่าจะมาจากการที่คนสมัยก่อน ประสบกับตัวเองเป็นต้นว่า เห็นคนที่กินอาหารประเภทนี้แล้วมีอาการปวดขา ตามหลักโภชนาการแล้วน่าจะมีส่วนค่ะ เพราะในผักยอดอ่อนจะมีสาร purin สูง สารนี้เมื่อทำการย่อยจะกลายเป็นกรดยูริก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเก๊าส์ได้ ส่วนคนที่กินแล้วไม่เกิดอาการใดๆ นั้นควรจะทานผักเยอะๆ เพราะช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น”
นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 10 กรกฎาคม 2547

ตั้งครรภ์ อายุมากกว่า 35 ปี


สมัยก่อนเราจะพบคุณย่าและคุณยายยังสาวอยู่เป็นจำนวนมากแต่ปัจจุบันคนไทยแต่งานอายุมากขึ้นและยังคุมกำเนิดต่ออีกทำให้เกิดการตั้งท้องตอนอายุมาก เด็กที่เกิดจากหญิงที่มีอายุมากส่วนใหญ่จะปกติแต่ก็พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนการมีบุตร
อายุมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร

เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไปอัตราการตั้งครรภ์จะลดลงเนื่องจากมีการตกไข่ลดลง อาจจะมีการอักเสบในช่องท้องทำให้เกิดพังผืด แม้ว่าจะตั้งครรภ์ยากแต่ครรภ์แผดมักจะเกิดในช่วงอายุ 35-39 ปี หากท่านอายุมากกว่า 30ปีมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอแล้วยังไม่มีบุตรให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อายุมากขณะตั้งครรภ์ขึ้นมีผลต่อสุขภาพของคนท้องอย่างไร
การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์สำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีมีความจำเป็นเนื่องจากอายุมากขึ้นก็จะมีโรค ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้นการควบคุมโรคก่อนการตั้งครรภ์จะช่วยลดโรคแทรกซ้อนได้ พบว่าคนท้องที่อายุมากกว่า 35 ปีจะเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์สูงกว่าคนทั่วไป 2 เท่าเมื่อเทียบกับอายุ 20 ปี
อายุมากขณะตั้งครรภ์กับการพิการแต่กำเนิด
พบว่าโรค Down syndrome จะเพิ่มขึ้นโดยพบคลอดผิดปกติ 1 รายจากจำนวนคลอดปกติ 1250 รายสำหรับอายุ 25 ปี แต่ถ้าอายุ 40 ปีจะพบคลอดผิดปกติ 1 รายจากจำนวนคลอด 106 รายแนะนำว่าหญิงท้องที่อายุมากกว่า 35 ปีควรจะเจาะน้ำคล่ำตรวจ พบว่ารอยละ 95 ผลออกมาปกติ
อายุมากขณะตั้งครรภ์กับการแท้ง
อายุมากขึ้นพบว่าอัตราการแท้งเพิ่มพบว่าอายุ 25 ปีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งประมาณร้อยละ 12-15 แต่ถ้าหากอายุ 40 ปีอัตราเสี่ยงของการแท้งประมาณร้อยละ 25
อายุมากขณะตั้งครรภ์มีผลต่อเด็กหรือไม่

อายุขณะตั้งครรภ์มากจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องรกมากขึ้นคือ รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนคลอด
เด็กที่คลอดอาจจะมีน้ำหนักน้อยกว่าคนท้องที่อายุน้อย
เนื่องจากแม่อาจจะไม่แข็งแรง เด็กอาจจะเกิดความเครียดขณะคลอด Fetal distree
อายุมากขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการคลอดหรือไม่
เมืออายุมากขึ้นจะพบว่าคลอดลำบากทำให้ต้องผ่าตัดหน้าท้องพบว่าหากท้องแรกอายุ 30 ปีจะมีอัตราการคลอดโดยวิธีผ่าตัดเพิ่มร้อยละ 30 แต่ถ้าหากอายุมากกว่า 35 ปี จะมีอัตราการคลอดโดยวิธีผ่าตัดเพิ่มร้อยละ 80

ท่านจะลดอัตราเสี่ยงได้อย่างไร

รับประทานวิตามิน โฟลิก 400 มิลิกรัมต่อวัน
ให้ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์และฝากท้องตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ให้คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
งดดื่มสุรา
งดบุหรี่
เลิกซื้อยารับประทานเอง
เมื่อตั้งท้องต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง
ที่สำคัญคือต้องเจาะน้ำคล่ำตรวจ Chromosome เพื่อตรวจว่าเด็กเป็นโรค Down syndrome หรือไม่

ฝากครรภ์ ที่ใหนดี



การ ฝากครรภ์มีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่ เพราะจุดมุ่งหมาย ในการฝากครรภ์นั้นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่และทารกใน ครรภ์ยังคงมีสุขภาพดี แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ หากมีปัญหาหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างนั้น คุณแม่จะได้รีบปรึกษาคุณหมอและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีหากมีภาวะแทรกซ้อน จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดล่ะหากนี่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกของคุณแม่ คุณหมออาจนัด ตรวจคุณตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะคิดว่า การตั้งครรภ์เพื่อคลอดลูกเป็นเรื่องแสนจะปกติ ธรรมดาสามัญเสียเหลือเกิน แต่ก็จัดเป็นประสบการณ์ใหม่เอี่ยมอ่องสำหรับผู้หญิงเราทุกคน ดังนั้นหากคุณได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากหมอ เมื่อมีภาวะ แทรกซ้อนเกิดขึ้นแพทย์จะสามารถตรวจพบได้ทันที ซึ่งเป็น การดีต่อตัวคุณแม่เอง ถ้าคุณแม่มีความกังวลใจเกี่ยวกับการ ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงใด อย่ารอจนถึงนัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไป ควรปรึกษาคุณ หมอที่ฝากครรภ์ทันที

ควรเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี?

คุณแม่ควรเริ่มฝากครรภ์กับคุณหมอ (ที่ถูกอัธยาศัย) ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพราะเมื่อฝากครรภ์จะต้องมีการตรวจสุขภาพ เช็คประวัติของคุณแม่ หากพบว่ามีปัญหาทางสุขภาพเกิดขึ้นที่อาจมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์ คุณหมอจะได้ทำการรักษา หรือดูแลอย่างอย่างใกล้ชิด เช่นโรคเบาหวาน (Diabetes), Sickle Cell หรือ โรคลมชัก (Epilepsy)
คลอดลูกที่ไหนดี?

ในประเทศไทยและในต่างประเทศ ทารกส่วนใหญ่คลอดที่ โรงพยาบาลค่ะ ถ้าเป็นในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ คุณแม่ท้องที่สองหรือสาม จะเริ่มเลือกที่จะคลอดที่บ้าน (Home Birth)โดยมี Midwife (พยาบาลผดุงครรภ์)มาทำคลอดให้ ทั้งนี้เพราะจะรู้สึกอบอุ่นและมีความสุขที่ได้คลอดในสถานที่คุ้นเคย คลอดที่บ้านก็จะมีทั้งคลอดแบบปกติ กับคลอดในน้ำ (Water Birth) คือในอ่างอาบน้ำ (Bath tub) นั่นล่ะค่ะ วันครบกำหนดคลอดคำนวณอย่างไรเมื่อพีเรียด (ประจำเดือน, เมนส์ แล้วแต่จะเรียก) ของคุณขาดหายไป แม้ว่าอาจเนื่องมาจากสาเหตุอื่นก็ตาม แต่ผู้หญิงเราส่วนใหญ่จะคิดว่า เป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ และถ้าหากคุณรู้สึกเจ็บหน้าอก, ปัสสาวะบ่อยขึ้น และรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน เพลียๆ เหมือนจะไม่สบาย คุณสันนิษฐานได้เลยว่าอีก 9 เดือนคุณจะได้ทารกน้อยน่ารักมา ให้ชื่นชมสมใจอย่างแน่นอน เมื่อได้รับการยืนยันจากคุณหมอแน่ชัดแล้วว่า คุณตั้งครรภ์แน่ คุณหมอก็จะให้วัน due date (วันครบกำหนดคลอด) คือวันที่คาด ว่าลูกคุณจะออกมาลืมตาดูโลกในวันนี้ ส่วนภาษาหมอจะเรียกวัน นี้ว่า EDD (Estimated Date of Delivery) ซึ่งมาจากการสรุปเบื้องต้นว่า ระยะการตั้งครรภ์จะเป็นเวลาประมาณ 280 วัน (40 weeks) นับจาก วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP - the first day of last menstrual period) ฉะนั้น วัน due date ของคุณก็จะนับจากวันนั้นไป 280 วันแล้วบวกอีก 1 สัปดาห์ เช่น
วันแรกที่คุณมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายคือวันที่ 9 มกราคม 2543 วันที่ครบกำหนดคลอด คือวันที่ 22 ตุลาคม 2543 แต่ส่วนใหญ่ ทารกคลอดไม่ตรงกับวันครบกำหนดคลอดหรอกค่ะ มักจะคลอดก่อนหรือหลังจากวันครบกำหนดคลอดประมาณ 1- 2 สัปดาห์ หากคุณมีข้อสงสัย, มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมีเลือดออกใน ระยะต้นๆ ของการตั้งครรภ์ Ultrasound Scan ก็จะมีบทบาทใน การช่วยคำนวณวัน due date ที่ถูกต้อง


ฝากครรภ์ครั้งแรก ตรวจอะไรบ้าง?

คุณหมอจะถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพโดยทั่วไปของคุณ ซักถามอาการเจ็บป่วยในปัจจุบันหรือที่ผ่านมา ประวัติการแท้งบุตร ทั้งนี้เพื่อใช้วางแผนในการดูแลครรภ์ ตรวจสุขภาพของคุณรวมทั้งหัวใจ, ปอด, ความดันโลหิต, ส่วนสูง, ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง, ตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะ, เพื่อเป็น baseline สำหรับวัดครั้งต่อไป บางครั้งคุณอาจถูก ถามถึง size รองเท้า ซึ่งอาจบ่งบอกถึงขนาดของกระดูกเชิง กราน (pelvis) ของคุณสำหรับการคลอดบุตร นอกจากนั้น มีการตรวจท้องภายนอกเพื่อเช็คดูขนาดของมดลูก บางรายอาจตรวจเต้านม ตรวจภายในสำหรับการตรวจเลือดนั้น เพื่อนำตัวอย่างของเลือดไปหาผลของ.....
กรุ๊ปเลือด
ดูว่าคุณเป็น Rh+ หรือ Rh-
คุณมีเชื้อหัดเยอรมัน (Rubella) หรือเปล่า
เช็คว่าคุณโรคโลหิตจางและควรได้รับการรักษาไหม?
และคุณมีเชื้อไวรัสเอดส์รึเปล่า? ต้องไปตามนัดบ่อยแค่ไหน? โดยปกติ คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ทุกๆ 4 สัปดาห์ จนกระทั่งถึง อายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ จึงเลื่อนมาเป็นนัดตรวจทุกๆ 2 สัปดาห์ จนอายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ จะนัดตรวจทุกอาทิตย์จนกระทั่งถึงกำหนดคลอด ในการตรวจครรภ์แต่ละครั้ง คุณหมอจะตรวจท้องภายนอก เพื่อวัดขนาดของมดลูกและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ตรวจหาอาการผิดปกติซึ่งเกี่ยวข้องกับไต หรือ ครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) ซึ่งมีข้อสังเกตได้ ดังนี้
ความดันโลหิตขึ้น
น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
มีอาการบวมมาก
พบปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ถ้าหากมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างการนัดตรวจครรภ์แต่ละครั้งล่ะ จะทำอย่างไร?หากคุณแม่มีข้อสงสัยใดๆ เกิดขึ้น อย่าลังเลนะคะ โทรศัพท์ถามคุณ หมอให้เข้าใจ หรือติดต่อพบคุณหมอทันทีเลยค่ะ ถ้าการพบคุณหมอ แต่ละครั้ง ต้องมีการนัดล่วงหน้า แจ้งพนักงานต้อนรับ ประจำคลีนิคหรือโรงพยาบาลให้ทราบว่า คุณกำลังท้องและ ต้องการพบคุณหมอด่วน โดยเฉพาะหากคุณมีอาการปวด ท้องมากผิดปกติ หรือแม้แต่มีเลือดออกนิดหน่อยก็ตามจำไว้ว่า ถ้ามีความกังวลใจใดๆ เกิดขึ้น ควรปรึกษาและ ถามคุณหมอให้หายสงสัย คุณจะได้สบายใจ ไม่ต้องมา นั่งกังวลจนไม่มีความสุขกับการตั้งครรภ์การ Screening Test จำเป็นไหม?


ปัจจุบันมีการตรวจ Screening ทารกหลายชนิด เพื่อเช็คดูว่า มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็น Down's Syndrome หรือมีอาการผิด ปกติอื่น มากน้อยแค่ไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละ โรงพยาบาล แต่การ Screening Test ทุกชนิดจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคุณแม่เสียก่อน คุณหมอจะทำโดยพละการไม่ได้ และคุณแม่สามารถขอคำอธิบายถึงการทำ Test แต่ละชนิดว่าทำอย่างไร และเพื่ออะไร มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งมาก น้อยแค่ไหน ก่อนที่คุณแม่จะอนุญาตให้คุณหมอทำการ Test

Ultrasound Scan
คุณแม่ส่วนใหญ่มักถูกตรวจโดย Ultrasound Scan เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16 - 18 สัปดาห์ เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์, ดูอายุครรภ์ที่ถูกต้อง และสามารถบอกเพศของทารกได้ด้วย (ไม่รับรองผลถูกต้อง 100%)Test อื่นๆ ที่คุณหมอมักแนะนำ โดยเฉพาะคุณแม่ที่อายุเกิน 35+ ขึ้นไป เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็น Down's Syndrome หรือ Spina Bifida มีดังนี้
Triple Blood Testคือการเจาะเลือดคุณแม่เพื่อตรวจดูฮอร์โมน 3 ชนิด สามารถทำได้เมื่ออายุครรภ์ 13 สัปดาห์


Amniocentesis (การเจาะตรวจน้ำคร่ำ)
โดยมากจะเจาะตรวจเมื่ออายุครรภ์ 14 - 18 สัปดาห์ โดยใช้เข็มยาว ประมาณ 6 นิ้วเจาะผ่านผนังท้องเข้าไปจนถึงตำแหน่งที่รกเกาะ แล้วจึงดูดเอาน้ำคร่ำออกมาประมาณ 30 CC. ในการเจาะนี้คุณ หมอจะดูตำแหน่งผ่าน อัลตร้าซาวนด์ Test นี้สามารถบอกได้ว่า ลูกคุณเป็น Down's Syndrome, Spina Bifida และความผิดปกติอื่นๆของตัวอ่อน รวมทั้งบอกเพศเด็กได้ด้วยข้อเสียคือ การรายงานผลใช้เวลาประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า หากพบว่าลูกของคุณที่อยู่ในท้องมีความผิดปกติ และคุณ แม่ต้องการทำแท้งบุตร ซึ่งอายุครรภ์ของคุณก็เพิ่มมากขึ้นแล้ว นอกจากนั้นยังถือว่ามีความเสี่ยงในการแท้งบุตรจากกระบวนการทำ Test นี้อยู่ 1%

การเจาะตรวจรก (CVS - Chrorionic Villus Sampling)
Test นิ้จะเริ่มทำเมื่ออายุครรภ์ 10 - 12 สัปดาห์ โดยนำตัวอย่าง เนื้อเยื่อจากรกที่กำลังเจริญเติบโต (รก - ตัวอ่อนได้รับออกซิเจน และสารอาหารจากเลือดมารดาผ่านทาง "รก") จากการดู ผ่านอัลตร้าซาวด์ จะใช้เข็มเจาะผ่านท้อง คุณแม่เข้าไป หรือใช้หลอดสอดผ่านช่องคลอดเข้าไปจนถึงปากมดลูกTest นี้สามารถบอกได้ว่าทารกเป็น Down's Syndrome หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ หรือไม่ (ยกเว้น Spina Bifida) ข้อดีคือ สามารถทำ Test ได้เร็วกว่า Amniocentesis (การเจาะตรวจน้ำคร่ำ) และทราบผลในช่วงต้นๆ ของการตั้งครรภ์ ข้อเสียคือ มีอัตราการเสี่ยงในการแท้งบุตร จากการทำ Test นี้สูงกว่า Amniocentesis Test


ข้างล่างเป็นรายชื่อ คุณหมอ ครรภ์ ของแต่ละโรงพยาบาล

BNH - นพ เยื้อน, นพ บุญชัย, นพ ประเสริฐ, พญ สุจิตรา


กรุงเทพ - นพ สมชัย นันทวิทยา

กรุงเทพคริสเตียน - นพ พิชัย, นพ เกียรติศักดิ์, นพ วิวัฒน์

กรุงธน - นพ สิงห์ทอง

เกษมราษฎร์ ประชาชื่น - พญ วิมลมาศ, พญ บุษกร, นพ วาฑิต, นพ สันติ

เจ้าพระยา - นพ สมเกียรติ

จุฬา - นพ เยื้อน, นพ บุญชัย, นพ กำธร, นพ นเรศ

เซ็นหลุยส์ - พญ ชื่นกมล, นพ สมชัย

ไทยนคิรนทร์ - นพ พิชัย, พญ อรษา

ธนบุรี - พญ สายฝน

นนทเวช - พญ วัลย์วิสา, พญ ลินดา, นพ วิชัย, นพ ประทีป

บางมด - นพ ศิวะกรณ์

บำรุงราษฎร์ - นพ บุญชัย

ปิยะเวท - นพ ชวลิต, นพ ทองทิศ

พญาไท 2 - นพ ครรชิต, นพ อร่าม, นพ สวัสดิ์, นพ ทศพร

พญาไท 3 - นพ ชาญชัย, นพ สุวิทย์, นพ พิทักษ์

มิชั่น - พญ นิภาพร

เมโย - นพ พัฒนา

รามคำแหง - พญ ศิริลักษมี

รามา - นพ อดิเทพ

ลาดพร้าว - พญ ถนอมศรี, นพ พันธ์วิทย์

วิชัยยุทธ - นพ พิบูลย์

เวชธานี - หมอเฉลิมศรี

ศิริราช - นพ ชาญชัย, นพ อนุวัฒน์, พญ พรพิมล

สมิติเวช ศรีนครินทร์ - นพ มฆวัน, นพ สุรเชษฐ์

สมิติเวช สุขุมวิท - นพ สัณเกียรติ

หัวเฉียว - พญ เนตรนภา, นพ ฑิฆัมพร



ข้อมูลอาจจะไม่อัพเดทนะค่ะ อย่างไงไปถามโรงพยาบาลแต่ละที่อีกทีนะค่ะ



ขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://www.momchannel.com/

โยคะ และการออกกำลังกาย เพื่อครรภ์คุณภาพของแม่








ความเป็นแม่ นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงทุกคน การเริ่มสร้างครอบครัว และการเตรียมรับสมาชิกใหม่ จึงนับเป็นเรี่องสคัญสำหรับคุณแม่ทุกคน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การปฏิบัติตัวระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อลูกน้อยเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีพัฒนาการที่ดีขึ้น การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น นีเวียครีมจึงได้จัดกิจกรรมพิเศษสำหรับคุณแม่ เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแก่คุณแม่ยุคใหม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ โดยมีการสาธิตการบริหารแบบโยคะของคุณแม่โดย เฮเลน ปทุมรัตน์ วรมาลี นางแบบแม่ลูกอ่อนเป็นผู้สาธิต และนายแพทย์นพดล สโรบล สูตินารีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นผู้แนะนำ โดยท่าสาธิตได้แก่ท่าแรกที่นางแบบสาวแนะนำ เป็นการฝึกกล้าเนื้ออุ้งเชิกงกรานและขั้นตอนการหายใจ โดยการค่อยๆ นั่งย่อเข่าแบบนั่งยองๆ ถ่างขา มือประสานพนมระหว่างอกแบบกางศอก ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจสบายๆท่าที่สอง นั่งคุกเข่า ทิ้งน้ำหนักตัว มือประสานกันไว้ด้านหน้า ต่อมาค่อยๆ ชันเข่าขึ้น เหยียดมือให้ตึงในท่าประสาน โน้มตัวไปด้านหลังเล็กน้อย ทำเช่นนี้ประมาณ 10 ครั้งเคล็ดลับการบริหารร่างกายแบบโยคะจะช่วยทำให้คลอดง่ายขึ้นตามแบบธรรมชาติและทำให้คุณแม่ลูกน้อยแข็งเรงทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถฝึกทำได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 7-8 เดือน นอกจากนี้ยังมีท่าโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อีกหลายท่าครบชุด ซึ่งหากคุณแม่ท่านใดสนใจ เร็วๆ นี้ ผลงาน "โยคะเพื่อครรภ์คุณภาพกับเฮเลน" ในรูปแบบของวีซีดีซึ่งออกแบบท่าโยคะทั้งหมดโดย จูเลีย จูส แพทย์และผู้เชี่ยวชาญการสร้างโปรแกรมบริหารร่างการเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ
geovisit();




ประโยชน์ของการออกกำลังกายและดูแลร่างกายให้แข็งแรงระหว่างตั้งครรภ์


การออกกำลังกายเบาๆ นอกจากจะช่วยเพิ่มความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าให้แก่คุณแม่แล้ว ยังมีประโยชน์ดังนี้
ช่วยลดอาการไม่สบายตัวต่างๆ เช่น ท้องผูก เป็นตะคริว ปวดหลัง
คุณจะรู้สึกแข็งแรงขึ้นและสามารถจัดการกับภารกิจประจำวันได้อย่างไม่มีปัญหา
ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
ผ่อนคลายความเครียดและป้องกันภาวะอารมณ์ซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์
ช่วยให้คุณดูดีและรู้สึกดี

ได้มีโอกาสพบปะคุณแม่ตั้งครรภ์ท่านอื่นๆ
ช่วยใหรูปร่างหลังคลอดกลับมาดีเหมือนเดิมได้เร็วขึ้น
เป็นการเตรียมตัวสำหรับการคลอด






การออกกำลังกายประเภทไหนที่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์





หากปกติคุณไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมากนัก ก็ควรจะเริ่มออกกำลังกายทีละน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงตั้งครรภ์ โดยอาจขอคำแนะนำจากผู้รู้ ซึ่งการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์นั้นควรเป็นการออกกำลังประเภทที่ใช้แรงกระแทกน้อย ( Low-impact) และเป็นกีฬาที่อ่อนโยนสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์ อย่างเช่นกีฬาต่อไปนี้
พิลาทีสและโยคะ - เน้นที่การยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายและการฝึกหายใจอย่างเต็มอิ่ม และหลีกเลี่ยงการฝึกท่าทางที่ยากและเสี่ยงอันตรายเกินไป
การเดินและวิ่งเหยาะๆ
การว่ายน้ำ
การออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือการออกกำลังกายในน้ำเพื่อเตรียมคลอด (คล้ายๆ กับแอโรบิกในน้ำ แต่ออกแบบมาสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ)
การเต้นรำเบาๆ
การขี่จักรยาน - ขณะตั้งครรภ์คุณแม่สามารถขี่จักรยานได้อย่างปลอดภัย เพียงแค่เลือกเส้นทางที่ไม่ขรุขระเกินไป และถ้าเป็นไปไดควรเลือกเบาะนั่งนุ่มๆ หรือมีที่กันกระแทกแต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ควรขี่จักรยานออกกำลังกายแบบอยู่กับที่จะปลอดภัยกว่าเพื่อป้องกันการล้ม เพราะเมื่อครรภ์โตขึ้น จุดสมดุลของร่างกายคุณแม่จะเปลี่ยนไป ทำให้มีแนวโน้มที่คุณแม่อาจเสียสมดุลได้ง่ายกว่า






การเข้าคลาสออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์


ถ้าคุณแม่เลือกเข้าคลาสออกกำลังกายควรแจ้งให้ผู้สอนทราบก่อนว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ พร้อมปรึกษากับผู้สอนเกี่ยวกับความต้องการในการบริหารร่างกายของคุณ และควรแน่ใจว่าผู้สอนมีใบรับรองหรือมีประสบการณ์การให้คำแนะนำการออกกำลังกายสำหรับแม่ตั้งครรภ์มาก่อนแล้ว เพื่อจะได้ขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้อย่างมั่นใจ

การออกกำลังกายที่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ สิ่งที่คุณแม่ควรทราบ
ไม่ควรออกกำลังกายจนร่างกายร้อนเกินไปเป็นเวลานาน
ควรสวมเสื้อชั้นในแบบสปอร์ตและสวมรองเท้าที่รองรับการกระแทกได้ดี
ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ระวังเรื่องการทรงตัว (เพราะจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายคุณจะเปลี่ยนไปในช่วงตั้งครรภ์)
ห้ามทำอะไรเกินกำลัง สังเกตได้จากร่างกายของคุณเอง ถ้ารู้สึกวิงเวียน หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม เป็นตะคริว เหนื่อยหมดแรง หรือร้อนเกินไป ให้หยุดออกกำลังกายทันที การออกกำลังกายและกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่อไปนี้
การขี่ม้า
การยกน้ำหนัก
การเดินทางท่องเที่ยวแบบแบ็คแพ็ค
การดำน้ำลึก
การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกสูง ( High-impact) กีฬาที่มีการกระทบกระแทกกัน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสูง ทั้งนี้ ควรขอคำปรึกษาจากสูติแพทย์ก่อนจะเริ่มต้นการออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์



Yoga For Pregnant Women - Soothe Your Body And MindBy:
  • Ron KingSometimes it is challenging to exercise while pregnant. Yoga for pregnant women offers moms-to-be a great workout that is healthy for you and your unborn baby. Here is a guide on safe, basic yoga exercises and stretches to use during pregnancy.Prenatal yoga provides both mental and physical benefits during pregnancy. Firstly, it is beneficial because it teaches you how to use breathing to relax your body and mind, factors which will certainly come in handy during childbirth. Learning how to master the postures presented in prenatal yoga will prepare you for labor and childbirth and it does this by instructing your body to stay tranquil.Yet the benefits of yoga for pregnant women are not only determined by your physical stamina, as the entire principle of yoga is to use not just the body, but the mind and the spirit also. Not only that, but simply working out in a positive and nurturing environment with others who are in the same situation as you can help to give you an emotional pick-me-up right when you require it most.There are many yoga poses in particular that are designed for use while pregnant, such as the Cobbler or Tailor pose. This is a sitting pose that helps to open up the pelvis. To do this pose, you sit yourself up straight against a wall with the soles of your feet touching each other, and then gently press your knees down and away from one another. Then just stay in this posture for as long as you feel relaxed.Another helpful prenatal yoga position is the pelvic tilt, which is a posture that helps to relieve back pain. Get down on your hands and knees with your arms shoulder-width apart and your knees hip-width apart. Attempt to keep your arms straight; then tighten in your abdominal muscles and tuck your buttocks under and round your back, breathing in while you hold the position.Now, relax your back into its relaxed position, and breathe out, repeating as you feel comfortable.Finally, another important pose is the squatting position, which helps to open up the pelvis and to strengthen the upper legs. As you start to put on weight during pregnancy there are certain support props that you can use to facilitate this position, such as yoga blocks or a pile of books.Commence by standing facing the back of a chair with your feet spread slightly apart, with your toes pointed outward.Lower your tailbone towards the floor as though you were about to sit down on a chair, but rather than sitting you hold the position there. Take a deep breath in, and when you exhale, push your legs up and bring yourself to a standing position, and then repeat as you feel comfortable.So if you are wondering how you will possibly exercise while pregnant, consider trying yoga for pregnant women. Not only will you feel great, you'll be accumulating lifelong benefits for you and your child. This natural exercise program will reduce tension and enhance your flexibility. Yoga poses are a wonderful way to ensure your sense of health and well-being, and a practice that you can always manage to adapt into a mother's busy schedule.
    For more information, check out
    Absolute Natural Health - Yoga Guide or the articles at Yoga For Life. Unlock your FREE report on Alternative Medicines at Everything You Wanted To Know About Alternative Medicine. Copyright 2008 Ron King. This article may be reprinted if the resource box is left intact and the links live.
    Article Source: http://www.ArticleBiz.com





“You can change the destiny of the child just by the way you breathe, just by the way you move.”


Gurmukh Kaur Khalsa

Pregnancy is a special time in your life, a time to nurture yourself and prepare to welcome a new soul onto the planet. Pregnancy Yoga in the Khalsa Way is a gentle and safe approach for women in all stages of their pregnancy. Our focus is on body alignment thru yoga postures, breathing, and strengthening the body, mind, and spirit to prepare for birth. Pregnancy Yoga promotes concentration, relaxation, and flexibility.


Yoga postures specifically tailored for strengthening and relaxing your rapidly changing body. Yogic breathing techniques that will support you thru pregnancy and labor.
Guided meditations and visualizations will give you a greater awareness of the many physical and spiritual changes you will encounter during your pregnancy.
Inspiring stories and antidotes to ancient ways of birthing and mothering that have been handed down thru the ages will help lift fears, doubts, and old conditioning.

คุณกำลังตั้งครรภ์ แล้วนะ



เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่า คุณกำลังตั้งครรภ์แล้ว ซึ่งอาจสังเกตเองได้จากอาการดังนี้
ประจำเดือนขาดหายไป สิ่งแรกที่จะต้องคำนึงถึงก็ คือการตั้งครรภ์แต่การตั้งครรภ์ไม่ใช่สาเหตุอย่างเดียวของ การขาดประจำเดือน อาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ หรือโรคบางอย่างก็ อาจมีผลต่อการขาดประจำเดือนได้เช่นกัน แต่ถ้าอยากรู้ว่าตั้งครรภ์แน่หรือไม่ คงต้องไปหาหมอ แต่ไม่ใช่ประจำเดือนหายไปเพียง 3-4 วัน ก็รีบไปหาหมอ เพราะหมอเองก็ยังไม่สามารถตรวจให้ทราบได้ ส่วนใหญ่แล้วจะแน่ใจได้ก็ต่อเมื่อประจำเดือนขาดหายไปจากวันที่ควรจะมา 10 วันขึ้นไป

เต้านมคัด โดยทั่วไปนั้นเวลาใกล้มีประจำเดือนผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการหน้าอกคัดตึง ผู้ที่ตั้งครรภ์ก็เช่นเดียวกันแต่เต้านมจะคัด ตึงมากกว่า เพราะเตรียมสร้างน้ำนมสำหรับลูกน้อย เต้านมจึงขยายใหญ่ และเป็นอยู่นานไม่หายไป บางคนมีอาการเจ็บบริเวณเต้านมด้วย แต่ไม่ต้องตกใจอาการเจ็บจะหายไปเองหลังจากตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนไปแล้ว หัวนมซึ่งเดิมเป็นสีชมพูจะเป็นสีคล้ำขึ้นและใหญ่ขึ้น
ปัสสาวะบ่อย เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ๆ ไตจะทำงานมากกว่าปกติ เพราะปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะช่วงตั้งครรภ์มดลูกโตขึ้น ชีพจรเต้นเร็วขึ้น เลือดผ่านไตมากกว่าเดิม ทำให้ไตกลั่นกรองปัสสาวะออกมามากขึ้น และสำหรับผู้ที่เริ่มตั้งครรภ์นั้นมดลูกซึ่งอยู่ติดกับด้านหลังของกระเพาปัสสาวะจะขยายใหญ่ขึ้น จึงไปเบียดและกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้จุปัสสาวะได้น้อยลงต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น

อาการคลื่นไส้ อาเจียน ก็เป็นอาการที่เราเรียกว่า “แพ้ท้อง” โดยทั่ว ๆ ไป มักเกิดขึ้นตอนเช้าหลังตื่นนอนใหม่ ๆ ถ้าเป็นมาก อาจจะคลื่นไส้อาเจียนตลอดวัน กินข้าวกินปลาไม่ได้เลยก็มี ซึ่งมักจะมีอาการหลังจากขาดประจำเดือน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และจะเป็นอยู่จนกระทั่งสิ้นเดือนที่ 3 อาการก็จะหายไป

น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มมากขึ้น ขนาดของมดลูกจะเพิ่มมากขึ้นและหน้าท้องจะขยายออกเรื่อยๆ หลังจาก 3 เดือนขึ้นไปเต้านม ขยายและหัวนมใหญ่มีสีคล้ำบริเวณผนังหน้าท้อง เต้านม สะโพก อาจเกิดผิวหนังแตกเป็นริ้วยาว และช่องคลอดเปลี่ยนแปลง โดยจะมีการไหลเวียนของกระแสโลหิตมาเลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้น

เมื่อแน่ใจว่าตั้งครรภ์แล้ว ก็อย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์เสียตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นการเตรียมพร้อมที่ดีที่สุด

ลูกสาวลูกชาย..เลือกได้จริงหรือ


มนุษย์มนุษย์เราดูจะวุ่นวายเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์มากกว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีบนโลกเรานี้เลยนะครับ มีเพศสัมพันธ์เพื่อแสดงความรักก็ได้ เพื่อความบันเทิงก็ได้ เพื่อมีลูกก็ได้…

เรื่องมันมายุ่งเหยิงก็ตรงที่บางทีคนเราก็ไม่ค่อยจะพอใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มีลูกก็เหมือนกัน บ้างก็อยากได้ลูกชาย บ้างก็อยากได้ลูกสาว แต่ส่วนมากมักจะอยากได้ลูกชายมากกว่า โดยเฉพาะคนจีน ที่อยากมีลูกชายเอาไว้สืบสกุลบ้าง เอาไว้ดูแลรักษาสมบัติบ้าง เพราะหลายๆ คนคิดว่ามีลูกสาวแล้วเดี๋ยวก็ต้องยกให้คนอื่นไป ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ไปชั่วชีวิต แต่ผมว่ามันขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู การผูกพันกันมากกว่า ถึงแม้จะมีลูกชาย พอมีเมียมันก็อยากจะแยกออกไปสร้างครอบครัวของเขาอยู่ดี ยังไงก็อย่าไปหวังเลยครับว่าเขาจะอยู่กับเราชั่วชีวิต แล้วเท่าที่เห็น ลูกสาวนี่แหละที่จะคอยเป็นห่วงเป็นใยมาดูแลพ่อแม่มากกว่าลูกชายเสียอีก
บางทีหากไม่ได้ลูกชายตามที่คาดหวังไว้ ทั้งสามี ทั้งแม่สามีก็มักทึกทักเอาว่า เป็นเพราะคุณเธอฝ่ายหญิงนี่แหละที่ไม่ยอมท้อง ไม่ยอมคลอดออกมาเป็นผู้ชาย ฝ่ายคุณแม่ก็ต้องก้มหน้าก้มตา นึกว่าเป็นเพราะตัวเองถึงไม่ได้เพศลูกตามที่ใครๆ ต้องการ…
อสุจิ จอมบงการ (เพศ)
--------------------------------------------------------------------------------
การที่ไม่ได้เพศลูกตามที่ต้องการนั้นต้องโทษผู้ชายมากกว่าครับ เพราะตัวกำหนดเพศก็คือ ตัวอสุจิของผู้ชายนั่นเอง ซึ่งอสุจิก็จะมีตัวอสุจิตัวผู้กับอสุจิตัวเมีย ถ้าอสุจิตัวผู้ไปถึงไข่ก่อน เจาะเข้าไปปฏิสนธิก่อนก็จะได้ลูกชาย แต่ถ้าอสุจิตัวเมียเจาะเข้าไปปฏิสนธิก่อนก็จะได้ลูกสาว ไข่ของผู้หญิงไม่ได้มีส่วนในการกำหนดเพศเลยครับ …เพราะอย่างนี้หากไม่ได้เพศตามที่ต้องการจะได้รู้ไว้เลยว่าเป็นความผิดของฝ่ายชายแต่เพียงผู้เดียว
พอรู้ว่าอสุจิของผู้ชายนี่เองที่เป็นตัวกำหนดเพศ นักวิทยาศาสตร์ก็เลยลองทำการศึกษาเจ้าอสุจิตัวผู้กับตัวเมียดู จับมาวิ่งแข่งกัน เอามาจับแช่กรดแช่ด่างดูว่ามันจะทนร้อนทนหนาวกันแค่ไหน ก็พบว่า เจ้าอสุจิตัวเมียจะตัวใหญ่อวบอั๋นกว่า อึดทนทานกว่า วิ่งช้ากว่า แต่ถ้าอยู่ในภาวะกรดอ่อนๆ จะวิ่งได้ดีกว่า ส่วนอสุจิตัวผู้จะตัวเล็กปราดเปรียวกว่า แต่ก็ใจเสาะ วิ่งไปได้ไม่เท่าไรก็หมดแรงเสียแล้ว แต่จะวิ่งได้เร็วกว่าอสุจิตัวเมีย ยิ่งเป็นด่างอ่อนๆ ก็ยิ่งชอบ
เซ็กซ์ห่างๆ ได้ลูกชาย
--------------------------------------------------------------------------------
พอคนเราแอบไปรู้ความลับของเจ้าตัวอสุจิเข้าก็เอามาใช้ประโยชน์ทันที คนที่อยากได้ลูกชายก็ต้องพยายามให้มีเพศสัมพันธ์ในวันที่ไข่ตกพอดี เพราะวันที่ไข่ตกพอดีนั้น ช่องคลอดก็จะมีความเป็นด่างสูง แล้วก็ต้องให้ถึงจุดสุดยอดพร้อมๆ กันอีกด้วยนะ เพราะตอนที่ถึงจุดสุดยอดผู้หญิงเราจะหลั่งน้ำที่มีภาวะเป็นด่างออกมา เชื้ออสุจิตัวผู้ก็จะวิ่งฉิวเลยครับ
ดังนั้นหากอยากจะได้ลูกชาย ฝ่ายคุณสามีก็ต้องเหนื่อยหน่อย ต้องพยายามทุกวิถีทางให้ภรรยาถึงจุดสุดยอดให้ได้ หากกลัวไม่ชัวร์ก็ให้เอาโซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ช้อนชา ใส่น้ำ 1 ขวดแม่โขงหรือ 750 ซีซี เขย่าให้เข้ากัน สวนล้างช่องคลอด แค่นี้ช่องคลอดก็เป็นด่างสมใจ แถมเวลาปล่อยอสุจิออกมาก็ต้องปล่อยให้ลึกที่สุดเท่าที่ทำได้ เนื่องจากตัวผู้วิ่งเร็วแต่ก็วิ่งไปได้ไม่ไกล หากปล่อยเชื้อตื้นๆ เดี๋ยวมันจะวิ่งไปไม่ถึง เขาว่ากันว่าการมีเพศสัมพันธ์ในท่าเข้าทางด้านหลัง จะสามารถสอดใส่เข้าไปได้ลึกที่สุด แล้วต้องกดไว้ลึกๆ ด้วยนะครับ ลองดูก็แล้วกัน
แล้วหากอยากได้ลูกชายก็ต้องไม่ยุ่งกันบ่อยด้วย เรียกว่าเก็บอั้นน้ำเชื้อไว้ขุนเอาไว้ให้อ้วน พอถึงวันตกไข่ก็ยุ่งกันทีเดียวพอ เรียกว่า ยิงนัดเดียว จะมีโอกาสได้ลูกชายเยอะกว่า แต่ถ้าหากยุ่งกันบ่อยๆ ถี่ๆ วันหนึ่งสามเวลา วันหยุดเพิ่มรอบเช้า เรียกว่ายิงรัวกันเป็นชุด ก็มักจะได้ลูกสาวเสียมากกว่า…มิน่าเล่า…ผู้ชายเจ้าชู้ ชอบมีเพศสัมพันธ์บ่อยๆ เลยมักมีแต่ลูกสาว
แล้วก็คงเป็นเพราะอย่างนี้มั้งที่ลูกคนหัวปีมักจะเป็นลูกสาวมากกว่าลูกชาย เพราะตอนแต่งกันใหม่ๆ ข้าวใหม่ปลามันก็คงต้องมีอะไรกันถี่อยู่แล้ว ยิ่งถี่ก็ยิ่งมีโอกาสได้ลูกสาวมากกว่า พออยู่กันไปนานๆ ชักจะหมดแรง บางทีเดือนหนึ่งยุ่งกันแค่ทีสองที เลยมีโอกาสได้ลูกชายมากกว่า แต่ก็ไม่แน่เสมอไปนะครับ เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกเยอะแยะ
เซ็กซ์ถี่ๆ มีลูกสาวจ้า
--------------------------------------------------------------------------------
แล้วหากยากได้ลูกสาวละก็ ต้องมีเพศสัมพันธ์กันบ่อยหน่อย แล้วต้องไม่ใช่วันที่ไข่ตกด้วยนะ อาจจะก่อนสักวัน หรือหลังหนึ่งวันก็ได้ เพราะตอนนั้นช่องคลอดจะมีความเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งอสุจิตัวเมียจะวิ่งได้ดีกว่า แล้วถ้าหากอยากได้ลูกสาว ฝ่ายหญิงก็ต้องกัดฟันทนอย่าให้ถึงจุดสุดยอดด้วยนะครับ เดี๋ยวเกิดถึงขึ้นมาก็จะหลั่งน้ำที่เป็นด่างออกมา ตัวผู้มันจะวิ่งตัดหน้าไปถึงไข่ซะก่อนเลยอดได้ลูกสาว เพราะดันไปถึงจุดสุดยอดซะนี่ เวลายุ่งกันก็ไม่ต้องให้คุณสามีเล้าโลมมาก พยายามนึกถึงหน้าเจ้าหนี้ คิดถึงพระถึงเจ้าไว้ หรือไม่ก็นอนอ่านขายหัวเราะไปพลางๆ ก็ได้ ถ้าไม่ชัวร์ก็อาจสวนล้างด้วยน้ำ 1 ขวดแม่โขง ผสมน้ำส้มสายชูลงไป 1 ช้อนโต๊ะ ให้ช่องคลอดเป็นกรดอ่อนๆ แต่ไม่ใช่อยากได้ลูกสาวมากเล่นใช้น้ำส้มสายชูล้างทั้งขวดนะครับ เดี๋ยวของสำคัญจะแสบพองไปหมด ไม่ต้องมีอะไรกันพอดี
แล้วถ้าอยากได้ลูกสาวก็ต้องปล่อยน้ำเชื้อตื้นๆ ด้วย เชื้อตัวเมียถึงแม้จะอ้วนอุ้ยอ้าย แต่จะอึดว่ายไปได้ไกลกว่า จะยุ่งกันท่าไหนก็ได้ตามถนัด แต่ตอนจะปล่อยน้ำอสุจิก็ให้ถอยออกมาปริ่มๆ หน่อยก็แล้วกัน โดยมากแล้วผู้ชายเราจะถึงจุดสุดยอดในจังหวะดันเข้ามากกว่าจังหวะถอนออกซะด้วย ยิ่งตอนสำคัญอย่างนี้บางทีก็หน้ามืดลืมซะทุกทีว่าต้องถอยออกมาปล่อยตื้นๆ …นึกขึ้นได้ก็ปล่อยออกมาจนคอพับคออ่อนไปก่อนซะแล้ว
ก็ยังสงสัยเหมือนกันนะครับว่าผู้ชายที่มีอวัยวะเพศยาวๆ ปล่อยเชื้อได้ลึกๆ น่าจะมีโอกาสได้ลูกชายมากกว่าลูกสาว ส่วนพวกอวัยวะเพศสั้นๆ ปล่อยเชื้อได้ไม่ค่อยลึกก็มักจะได้ลูกสาวมากกว่าลูกชาย แต่ยังหาไม่เจอครับว่ามีใครศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้กันบ้างหรือเปล่า เจอแล้วจะบอกละกัน
เซ็กซ์ เลือกเพศ ไม่ง่ายนะ…
--------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ดูจะลำบากสำหรับการเลือกเพศแบบธรรมชาตินี้ก็เห็นจะเป็นตอนสวนล้างช่องคลอดนี่แหละครับ จะเอามาล้างข้างนอกอย่างเดียว โดยมากแล้วไม่ได้ช่วยอะไร เพราะน้ำยาสวนล้างไม่สามารถเข้าไปถึงภายในช่องคลอดได้ ความเป็นกรดด่างของช่องคลอดก็ยังคงเหมือนเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง จะกรอกเข้าไปก็เห็นจะยาก เพราะช่องคลอดมันจะปิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าจะให้ได้ผลจริงๆ ผมว่าเห็นจะต้องใช้อุปกรณ์สวนล้างช่องคลอดล้างเข้าไปถึงข้างใน อย่างนี้ถึงจะชัวร์
เวลามีเพศสัมพันธ์ถ้าจะให้ดีก็ต้องรู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้มสบายๆ มันถึงเป็นเพศสัมพันธ์ที่น่าประทับใจ แต่ถ้าหากต้องลุกขึ้นมานั่งสวนล้างช่องคลอดยักแย่ยักยันคั่นรายการ จะเข้านอนวันไหนแล้วมีอะไรกันวันไหน ปกติแล้วมันไม่สามารถบอกกันได้ล่วงหน้าหรอกครับ แล้วแต่อารมณ์ แต่ถ้าอยากจะเลือกเพศก็ต้องงดวันนี้นะ ต้องยุ่งกันวันนี้นะ ไม่มีอารมณ์ก็ต้องทำไปตามหน้าที่ บางคนเครียดกับเรื่องนี้มากจนเกิดอาการไม่แข็งตัวเลยก็มี
แล้วคนเราบางทีก็ไม่ได้ท้องกันง่ายๆ หรอกครับ ผ่านไปเดือนหนึ่งก็ยังไม่ท้อง สองเดือนก็ยังไม่ท้อง สามเดือน สี่เดือน บางทีก็เหมือนจำใจต้องมีเพศสัมพันธ์ตามวันที่กำหนด ต้องสวนล้าง ต้องทำตามแบบที่กำหนดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มันก็ทำให้ชีวิตบนเตียงเหมือนฝืนใจทำ…อยู่กันไปอยู่กันมาก็เครียดกันเปล่าๆ
การเลือกเพศโดยวิธีธรรมชาตินี้ตามทฤษฎี เขาว่ามีโอกาสได้เพศที่ต้องการเพียงแค่ 60-70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองครับ แต่ผมว่าไม่ว่าจะทำยังไงโอกาสที่จะได้เพศลูกมันก็ไม่เปลี่ยนไปจากเดิมหรอกครับ เพราะเราไม่ได้จับเชื้ออสุจิตัวผู้กับตัวเมียมาวิ่งแข่งกันเป็นเส้นตรงจากปากมดลูก มุดเข้าไปในมดลูก ว่ายแข่งกันไปจนถึงปีกมดลูก แล้วเข้าไปเจาะไข่
เพราะเชื้ออสุจิมันไม่มีลูกตา ไม่มีระบบนำวิถี มันจะว่ายสะเปะสะปะไปเรื่อยๆ ด้วยความที่มันเคลื่อนไม่แน่ไม่นอนนี่แหละก็เลยทำให้จำนวนเชื้ออสุจิตัวผู้กับตัวเมียไปถึงไข่ในเวลาไม่แตกต่างกันนัก จำนวนเชื้อโดยเฉลี่ยแล้วก็ไม่แตกต่างกันเลยครับ ยังไงเสียโอกาสได้เพศที่ต้องการมันก็ห้าสิบห้าสิบเหมือนเดิม
ก็อย่าไปซีเรียสเลยครับ ลูกสาวหรือลูกชายก็ลูกเราเหมือนกัน ขอให้สมบูรณ์แข็งแรง เติบโตมาเป็นเด็กดีของพ่อของแม่ เป็นคนดีของสังคมก็พอใจแล้ว…อย่าไปเครียดอย่าไปคาดหวังเลย… ปล่อยตัวปล่อยใจสบายๆ มีเพศสัมพันธ์ให้มีความสุขดีกว่านะครับ
ขอขอบคุณบทความ:นิตยสารดวงใจพ่อแม่