การ ฝากครรภ์มีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่ เพราะจุดมุ่งหมาย ในการฝากครรภ์นั้นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่และทารกใน ครรภ์ยังคงมีสุขภาพดี แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ หากมีปัญหาหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างนั้น คุณแม่จะได้รีบปรึกษาคุณหมอและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีหากมีภาวะแทรกซ้อน จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดล่ะหากนี่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกของคุณแม่ คุณหมออาจนัด ตรวจคุณตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะคิดว่า การตั้งครรภ์เพื่อคลอดลูกเป็นเรื่องแสนจะปกติ ธรรมดาสามัญเสียเหลือเกิน แต่ก็จัดเป็นประสบการณ์ใหม่เอี่ยมอ่องสำหรับผู้หญิงเราทุกคน ดังนั้นหากคุณได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากหมอ เมื่อมีภาวะ แทรกซ้อนเกิดขึ้นแพทย์จะสามารถตรวจพบได้ทันที ซึ่งเป็น การดีต่อตัวคุณแม่เอง ถ้าคุณแม่มีความกังวลใจเกี่ยวกับการ ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงใด อย่ารอจนถึงนัดตรวจครรภ์ครั้งต่อไป ควรปรึกษาคุณ หมอที่ฝากครรภ์ทันที
ควรเริ่มฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี?
คุณแม่ควรเริ่มฝากครรภ์กับคุณหมอ (ที่ถูกอัธยาศัย) ทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพราะเมื่อฝากครรภ์จะต้องมีการตรวจสุขภาพ เช็คประวัติของคุณแม่ หากพบว่ามีปัญหาทางสุขภาพเกิดขึ้นที่อาจมีผลกระทบต่อลูกในครรภ์ คุณหมอจะได้ทำการรักษา หรือดูแลอย่างอย่างใกล้ชิด เช่นโรคเบาหวาน (Diabetes), Sickle Cell หรือ โรคลมชัก (Epilepsy)
คลอดลูกที่ไหนดี?
ในประเทศไทยและในต่างประเทศ ทารกส่วนใหญ่คลอดที่ โรงพยาบาลค่ะ ถ้าเป็นในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ คุณแม่ท้องที่สองหรือสาม จะเริ่มเลือกที่จะคลอดที่บ้าน (Home Birth)โดยมี Midwife (พยาบาลผดุงครรภ์)มาทำคลอดให้ ทั้งนี้เพราะจะรู้สึกอบอุ่นและมีความสุขที่ได้คลอดในสถานที่คุ้นเคย คลอดที่บ้านก็จะมีทั้งคลอดแบบปกติ กับคลอดในน้ำ (Water Birth) คือในอ่างอาบน้ำ (Bath tub) นั่นล่ะค่ะ วันครบกำหนดคลอดคำนวณอย่างไรเมื่อพีเรียด (ประจำเดือน, เมนส์ แล้วแต่จะเรียก) ของคุณขาดหายไป แม้ว่าอาจเนื่องมาจากสาเหตุอื่นก็ตาม แต่ผู้หญิงเราส่วนใหญ่จะคิดว่า เป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ และถ้าหากคุณรู้สึกเจ็บหน้าอก, ปัสสาวะบ่อยขึ้น และรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน เพลียๆ เหมือนจะไม่สบาย คุณสันนิษฐานได้เลยว่าอีก 9 เดือนคุณจะได้ทารกน้อยน่ารักมา ให้ชื่นชมสมใจอย่างแน่นอน เมื่อได้รับการยืนยันจากคุณหมอแน่ชัดแล้วว่า คุณตั้งครรภ์แน่ คุณหมอก็จะให้วัน due date (วันครบกำหนดคลอด) คือวันที่คาด ว่าลูกคุณจะออกมาลืมตาดูโลกในวันนี้ ส่วนภาษาหมอจะเรียกวัน นี้ว่า EDD (Estimated Date of Delivery) ซึ่งมาจากการสรุปเบื้องต้นว่า ระยะการตั้งครรภ์จะเป็นเวลาประมาณ 280 วัน (40 weeks) นับจาก วันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP - the first day of last menstrual period) ฉะนั้น วัน due date ของคุณก็จะนับจากวันนั้นไป 280 วันแล้วบวกอีก 1 สัปดาห์ เช่น
วันแรกที่คุณมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายคือวันที่ 9 มกราคม 2543 วันที่ครบกำหนดคลอด คือวันที่ 22 ตุลาคม 2543 แต่ส่วนใหญ่ ทารกคลอดไม่ตรงกับวันครบกำหนดคลอดหรอกค่ะ มักจะคลอดก่อนหรือหลังจากวันครบกำหนดคลอดประมาณ 1- 2 สัปดาห์ หากคุณมีข้อสงสัย, มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมีเลือดออกใน ระยะต้นๆ ของการตั้งครรภ์ Ultrasound Scan ก็จะมีบทบาทใน การช่วยคำนวณวัน due date ที่ถูกต้อง
ฝากครรภ์ครั้งแรก ตรวจอะไรบ้าง?
คุณหมอจะถามคำถามเกี่ยวกับสุขภาพโดยทั่วไปของคุณ ซักถามอาการเจ็บป่วยในปัจจุบันหรือที่ผ่านมา ประวัติการแท้งบุตร ทั้งนี้เพื่อใช้วางแผนในการดูแลครรภ์ ตรวจสุขภาพของคุณรวมทั้งหัวใจ, ปอด, ความดันโลหิต, ส่วนสูง, ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง, ตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะ, เพื่อเป็น baseline สำหรับวัดครั้งต่อไป บางครั้งคุณอาจถูก ถามถึง size รองเท้า ซึ่งอาจบ่งบอกถึงขนาดของกระดูกเชิง กราน (pelvis) ของคุณสำหรับการคลอดบุตร นอกจากนั้น มีการตรวจท้องภายนอกเพื่อเช็คดูขนาดของมดลูก บางรายอาจตรวจเต้านม ตรวจภายในสำหรับการตรวจเลือดนั้น เพื่อนำตัวอย่างของเลือดไปหาผลของ.....
กรุ๊ปเลือด
ดูว่าคุณเป็น Rh+ หรือ Rh-
คุณมีเชื้อหัดเยอรมัน (Rubella) หรือเปล่า
เช็คว่าคุณโรคโลหิตจางและควรได้รับการรักษาไหม?
และคุณมีเชื้อไวรัสเอดส์รึเปล่า? ต้องไปตามนัดบ่อยแค่ไหน? โดยปกติ คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ทุกๆ 4 สัปดาห์ จนกระทั่งถึง อายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ จึงเลื่อนมาเป็นนัดตรวจทุกๆ 2 สัปดาห์ จนอายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ จะนัดตรวจทุกอาทิตย์จนกระทั่งถึงกำหนดคลอด ในการตรวจครรภ์แต่ละครั้ง คุณหมอจะตรวจท้องภายนอก เพื่อวัดขนาดของมดลูกและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ตรวจหาอาการผิดปกติซึ่งเกี่ยวข้องกับไต หรือ ครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) ซึ่งมีข้อสังเกตได้ ดังนี้
ความดันโลหิตขึ้น
น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
มีอาการบวมมาก
พบปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ถ้าหากมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างการนัดตรวจครรภ์แต่ละครั้งล่ะ จะทำอย่างไร?หากคุณแม่มีข้อสงสัยใดๆ เกิดขึ้น อย่าลังเลนะคะ โทรศัพท์ถามคุณ หมอให้เข้าใจ หรือติดต่อพบคุณหมอทันทีเลยค่ะ ถ้าการพบคุณหมอ แต่ละครั้ง ต้องมีการนัดล่วงหน้า แจ้งพนักงานต้อนรับ ประจำคลีนิคหรือโรงพยาบาลให้ทราบว่า คุณกำลังท้องและ ต้องการพบคุณหมอด่วน โดยเฉพาะหากคุณมีอาการปวด ท้องมากผิดปกติ หรือแม้แต่มีเลือดออกนิดหน่อยก็ตามจำไว้ว่า ถ้ามีความกังวลใจใดๆ เกิดขึ้น ควรปรึกษาและ ถามคุณหมอให้หายสงสัย คุณจะได้สบายใจ ไม่ต้องมา นั่งกังวลจนไม่มีความสุขกับการตั้งครรภ์การ Screening Test จำเป็นไหม?
ปัจจุบันมีการตรวจ Screening ทารกหลายชนิด เพื่อเช็คดูว่า มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็น Down's Syndrome หรือมีอาการผิด ปกติอื่น มากน้อยแค่ไหน ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละ โรงพยาบาล แต่การ Screening Test ทุกชนิดจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคุณแม่เสียก่อน คุณหมอจะทำโดยพละการไม่ได้ และคุณแม่สามารถขอคำอธิบายถึงการทำ Test แต่ละชนิดว่าทำอย่างไร และเพื่ออะไร มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งมาก น้อยแค่ไหน ก่อนที่คุณแม่จะอนุญาตให้คุณหมอทำการ Test
Ultrasound Scan
คุณแม่ส่วนใหญ่มักถูกตรวจโดย Ultrasound Scan เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16 - 18 สัปดาห์ เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์, ดูอายุครรภ์ที่ถูกต้อง และสามารถบอกเพศของทารกได้ด้วย (ไม่รับรองผลถูกต้อง 100%)Test อื่นๆ ที่คุณหมอมักแนะนำ โดยเฉพาะคุณแม่ที่อายุเกิน 35+ ขึ้นไป เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีลูกเป็น Down's Syndrome หรือ Spina Bifida มีดังนี้
Triple Blood Testคือการเจาะเลือดคุณแม่เพื่อตรวจดูฮอร์โมน 3 ชนิด สามารถทำได้เมื่ออายุครรภ์ 13 สัปดาห์
Amniocentesis (การเจาะตรวจน้ำคร่ำ)
โดยมากจะเจาะตรวจเมื่ออายุครรภ์ 14 - 18 สัปดาห์ โดยใช้เข็มยาว ประมาณ 6 นิ้วเจาะผ่านผนังท้องเข้าไปจนถึงตำแหน่งที่รกเกาะ แล้วจึงดูดเอาน้ำคร่ำออกมาประมาณ 30 CC. ในการเจาะนี้คุณ หมอจะดูตำแหน่งผ่าน อัลตร้าซาวนด์ Test นี้สามารถบอกได้ว่า ลูกคุณเป็น Down's Syndrome, Spina Bifida และความผิดปกติอื่นๆของตัวอ่อน รวมทั้งบอกเพศเด็กได้ด้วยข้อเสียคือ การรายงานผลใช้เวลาประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า หากพบว่าลูกของคุณที่อยู่ในท้องมีความผิดปกติ และคุณ แม่ต้องการทำแท้งบุตร ซึ่งอายุครรภ์ของคุณก็เพิ่มมากขึ้นแล้ว นอกจากนั้นยังถือว่ามีความเสี่ยงในการแท้งบุตรจากกระบวนการทำ Test นี้อยู่ 1%
การเจาะตรวจรก (CVS - Chrorionic Villus Sampling)
Test นิ้จะเริ่มทำเมื่ออายุครรภ์ 10 - 12 สัปดาห์ โดยนำตัวอย่าง เนื้อเยื่อจากรกที่กำลังเจริญเติบโต (รก - ตัวอ่อนได้รับออกซิเจน และสารอาหารจากเลือดมารดาผ่านทาง "รก") จากการดู ผ่านอัลตร้าซาวด์ จะใช้เข็มเจาะผ่านท้อง คุณแม่เข้าไป หรือใช้หลอดสอดผ่านช่องคลอดเข้าไปจนถึงปากมดลูกTest นี้สามารถบอกได้ว่าทารกเป็น Down's Syndrome หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ หรือไม่ (ยกเว้น Spina Bifida) ข้อดีคือ สามารถทำ Test ได้เร็วกว่า Amniocentesis (การเจาะตรวจน้ำคร่ำ) และทราบผลในช่วงต้นๆ ของการตั้งครรภ์ ข้อเสียคือ มีอัตราการเสี่ยงในการแท้งบุตร จากการทำ Test นี้สูงกว่า Amniocentesis Test
ข้างล่างเป็นรายชื่อ คุณหมอ ครรภ์ ของแต่ละโรงพยาบาล
BNH - นพ เยื้อน, นพ บุญชัย, นพ ประเสริฐ, พญ สุจิตรา
กรุงเทพ - นพ สมชัย นันทวิทยา
กรุงเทพคริสเตียน - นพ พิชัย, นพ เกียรติศักดิ์, นพ วิวัฒน์
กรุงธน - นพ สิงห์ทอง
เกษมราษฎร์ ประชาชื่น - พญ วิมลมาศ, พญ บุษกร, นพ วาฑิต, นพ สันติ
เจ้าพระยา - นพ สมเกียรติ
จุฬา - นพ เยื้อน, นพ บุญชัย, นพ กำธร, นพ นเรศ
เซ็นหลุยส์ - พญ ชื่นกมล, นพ สมชัย
ไทยนคิรนทร์ - นพ พิชัย, พญ อรษา
ธนบุรี - พญ สายฝน
นนทเวช - พญ วัลย์วิสา, พญ ลินดา, นพ วิชัย, นพ ประทีป
บางมด - นพ ศิวะกรณ์
บำรุงราษฎร์ - นพ บุญชัย
ปิยะเวท - นพ ชวลิต, นพ ทองทิศ
พญาไท 2 - นพ ครรชิต, นพ อร่าม, นพ สวัสดิ์, นพ ทศพร
พญาไท 3 - นพ ชาญชัย, นพ สุวิทย์, นพ พิทักษ์
มิชั่น - พญ นิภาพร
เมโย - นพ พัฒนา
รามคำแหง - พญ ศิริลักษมี
รามา - นพ อดิเทพ
ลาดพร้าว - พญ ถนอมศรี, นพ พันธ์วิทย์
วิชัยยุทธ - นพ พิบูลย์
เวชธานี - หมอเฉลิมศรี
ศิริราช - นพ ชาญชัย, นพ อนุวัฒน์, พญ พรพิมล
สมิติเวช ศรีนครินทร์ - นพ มฆวัน, นพ สุรเชษฐ์
สมิติเวช สุขุมวิท - นพ สัณเกียรติ
หัวเฉียว - พญ เนตรนภา, นพ ฑิฆัมพร
ข้อมูลอาจจะไม่อัพเดทนะค่ะ อย่างไงไปถามโรงพยาบาลแต่ละที่อีกทีนะค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากเวบ
http://www.momchannel.com/